|
เวลาเปิด - ปิด
... พระราชวังบางปะอิน เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. โปรดแต่งกายสุภาพ
|
|
ค่าเข้าชม
... ผู้ใหญ่ 30 บาท
... นักเรียน นักศึกษา 20 บาท
|
|
ร้านจำหน่ายสินค้า
... ภายในพระราชวังบางปะอิน มีร้านจำหน่ายสินค้า และจำหน่ายของที่ระลึก
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
- ตอนนี้ยังไม่มีครับ
|
แนะนำลิงค์ที่เกี่ยวข้องที่นี่ครับ
|
|
ภาพทั้งหมดจากนักเดินทางโดย กล้องดิจิตอล Cyber - shot รุ่น DSC-F828 ของ Sony |
ภาพถ่ายจากพระราชวังบางปะอิน :-
|
ป้ายพระราชวัง ฯ
|
แผนที่พระราชวัง ฯ
|
หอวิฑูรทัศนา
|
หอเหมมณเฑียร เทวราช
|
....
|
อาคารนิทรรศการ
|
กระโจมแตร
|
ประตูเทวราชครรไล
|
พระที่นั่ง ไอศวรรย์ทิพยอาสน์
|
พระที่นั่ง ไอศวรรย์ทิพยอาสน์
|
พระที่นั่ง วโรภาษพิมาน
|
เรือนแพพระที่นั่ง
|
เรือนแพพระที่นั่ง
|
พระที่นั่ง อุทยานภูมิเสถียร
|
พระที่นั่ง อุทยานภูมิเสถียร
|
พระที่นั่ง เวหาศจำรูญ
|
บุปผาประพาส
|
....
|
|
|
... มีรถเหมือนในสนามกอล์ฟไว้บริการด้วยนะครับ...ค่าเช่าก็ชั่วโมงละ 250 บาท...
... ชั่วโมงต่อไป 200 บาท ...ถ้าจำไม่ผิดนะ..ราคาประมาณนี้แหละครับ..
|
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
พระราชวังบางปะอิน
มีประวัติความเป็นมาตามพระราชพงศาวดารครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า
" พระเจ้าปราสาททองหรือพระศรีสรรเพ็ชญ์ที่ 5 ( พ.ศ. 2172-2199 ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังแห่งนี้ขึ้นบนเกาะบ้านเลนในลำแม่น้ำเจ้าพระยา"
........ ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าปราสาททองเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถประสูติแต่หญิงชาวบ้าน ซึ่งพระองค์ทรงพบเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งแล้วเกิดล่มลงตรงเกาะบางปะอิน
เมื่อพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2173 แล้วต่อมาในปี พ.ศ. 2175 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งบนเกาะบางปะอินตรงบริเวณเคหสถานเดิมของพระมารดา
พระราชทานชื่อว่า " วัดชุมพลนิกายาราม " และให้ขุดสระน้ำสร้างพระราชนิเวศน์สถานขึ้นกลางเกาะเป็นที่สำหรับเสด็จประพาส
แล้วสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งขึ้นริมสระน้ำนั้น พระราชทานนามว่า " พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ "
พระราชวังแห่งนี้คงเป็นที่ประพาสสำราญพระราชหฤทัยของพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดมา และคงรกร้างทรุดโทรมไปแต่ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา
เมื่อ พ.ศ. 2310 เป็นต้นมา
พระราชวังบางปะอิน
ได้รับการบูรณะฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ เป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 พระองค์โปรดที่จะเสด็จประพาสพระราชวังบางปะอินอยู่เสมอ ด้วยทรงปรารภว่าเป็นเกาะอยู่กลางน้ำ เงียบสงบ ร่มรื่น
และเคยเป็นที่ประทับประพาสของสมเด็จพระบรมชนกนาถมาก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้น
ดังที่ปรากฎให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งยังคงใช้เป็นที่ประทับต้อนรับพระราชอาคันตูกะ และพระราชทานเลี้ยงรับรองในโอกาสต่างๆ เป็นครั้งคราว
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ ใ น พ ร ะ ร า ช วั ง บ า ง ป ะ อิ น : : :
|
เขตพระราชฐานชั้นนอก
เขตพระราชฐานชั้นนอก
ประกอบด้วย พระที่นั่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้สำหรับการออกมหาสมาคมและพระราชพิธีต่างๆ
... สิ่งสำคัญในเขตพระราชฐานชั้นนอกของพระราชวังบางปะอิน ได้แก่ หอเหมมณเฑียรเทวราช สภาคารราชประยูร พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
และพระที่นั่งวโรภาษพิมาน
|
|
สิ่งที่น่าสนใจในเขตพระราชฐานชั้นนอก
|
|
หอเหมมณเฑียรเทวราช
เป็นปรางค์ศิลายอดทรงปราสาทแบบขอม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2423
เพื่อทรงอุทิศถวายแด่พระเจ้าปราสาททอง ซึ่งทรงได้รับพระนามนี้เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีผู้ค้นพบปราสาทแบบขอมขนาดย่อส่วนทำด้วยทองคำ
|
|
ไม่มีภาพ
|
สภาคารราชประยูร
เป็นตึกสองชั้นริมน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2422 สำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายหน้า และข้าราชบริพาร
|
|
|
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์
เป็นพระที่นั่งปราสาทโถงกลางสระน้ำ สร้างในแบบปราสาทจตุรมุข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์กิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2419 และพระราชทานนามว่า
" พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ " ตามนามพระที่นั่งองค์แรก ซึ่งพระเจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ณ
พระราชวังบางปะอินแห่งนี้ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
|
|
|
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน
เป็นพระที่นั่งทรงตึกชั้นเดียว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2419
ตรงบริเวณที่ประทับเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อแรกสร้างเป็นอาคารตึก 2 ชั้นและมีท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการ
ภายในห้องโถงรับรองและห้องทรงพระสำราญ ประดับภาพเขียนสีน้ำมัน ภาพพระราชพงศาวดารประกอบโคลงบรรยายภาพอันงดงามทรงคุณค่า
เป็นภาพเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย และฉากต่างๆ จากวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วาดภาพเหล่านี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2430 ปัจจุบันพระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับเมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานยังพระราชวังบางปะอิน
|
|
เขตพระราชฐานชั้นใน
เขตพระราชฐานชั้นใน
เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และข้าบาทบริจาริกา
... เขตพระราชฐานชั้นในเชื่อมต่อกับเขตพระราชฐานชั้นนอก ด้วยสะพานที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีแนวฉากคล้ายบานเกล็ดกั้นกลางตลอดแนวสะพาน
เพื่อแบ่งเป็นทางเดินของฝ่ายหน้าด้านหนึ่งและฝ่ายในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งฝ่ายในสามารถมองลอดออกมาโดยตัวเองไม่ถูกแลเห็น
สะพานนี้เชื่อมจากพระที่นั่งวโรภาษพิมานกับประตูเทวราชครรไล ซึ่งเป็นประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นใน
... บริเวณเขตพระราชฐานชั้นในประกอบด้วย ที่ประทับ พลับพลาและศาลาต่างๆ ซึ่งสร้างอยู่ในพระราชอุทยานขนาดใหญ่ สิ่งสำคัญในเขตพระราชฐานชั้นใน ได้แก่
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร หอวิฑูรทัศนา พระที่นั่งเวหาญจำรูญ พระตำหนักฝ่ายใน และอนุสาวรีย์ 2 แห่ง
|
|
สิ่งที่น่าสนใจในเขตพระราชฐานชั้นใน
|
|
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร
เป็นพระที่นั่งเรือนไม้สองชั้นแบบชาเลต์ของสวิส คือมีเฉลียงทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับกันทั้งองค์พระที่นั่ง
ภายในตกแต่งแบบยุโรป ด้วยเครื่องเรือนแบบฝรั่งเศสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เป็นชุดเดียวเข้ากันหมดทั้งพระที่นั่งอย่างงดงาม เป็นที่ประทับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดปรานมากที่สุด
ได้เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับบางคราวถึง 3 ครั้งต่อปี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในปี พ.ศ. 2481 ขณะที่มีการดำเนินการซ่อมทาสีพระที่นั่งได้เกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้พระที่นั่งหมดสิ้นทั้งองค์
เหลือแต่หอน้ำลักษณะคล้ายหอรบของยุโรปเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
สร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นใหม่
|
|
|
หอวิฑูรทัศนา
เป็นหอสูงยอดมน ตั้งอยู่กลางเกาะในพระราชอุทยาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2424 เพื่อใช้เป็นหอส่องกล้องชมภูมิประเทศและดูดาว
|
|
|
พระที่นั่งเวหาญจำรูญ
เป็นพระที่นั่งสองชั้น สร้างในแบบศิลปะจีนอย่างงดงาม โดยกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในไทยสร้างน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปี พ.ศ. 2432 พระที่นั่งองค์นี้ มีนามตามภาษาจีนด้วยว่า " เทียนเหมงเต้ย "
( เทียนเหมงเต้ย --> เทียน - เวหา, เหมง - จำรูญ, เต้ย - พระที่นั่ง )
ภายในห้องกลางชั้นบนของพระที่นั่ง เป็นที่ประดิษฐานพระที่นั่งเก๋ง 3 องค์ติดต่อกัน ทำด้วยไม้แกะสลักลวดลายต่างๆ ลงรักปิดทองงามอร่าม
ช่องตะวันตกประดิษฐานพระป้ายจารึก ( อักษรจีน ) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธย กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 ช่องกลางเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
และช่องตะวันออกประดิษฐานพระป้ายจารึก ( อักษรจีน ) พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนามาภิไธย
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470
ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลสังเวยพระป้าย ในวันตรุษจีนทุกปี
|
|
ไม่มีภาพ
|
พระตำหนักฝ่ายใน
หมู่พระตำหนักฝ่ายใน เป็นอาคารแบบตะวันตก มีทั้งชั้นเดียว และสองชั้น เรียงรายกันอยู่
แต่ในปัจจุบันพระตำหนักเหล่านี้เหลืออยู่เพียงไม่กี่องค์เท่านั้น
|
|
|
อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
ในปี พ.ศ. 2423 สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เสด็จทิวงคต เนื่องจากเรือพระที่นั่งเกิดอุบัติเหตุล่มลงในแม่น้ำเจ้าพระยา
ณ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ในขณะที่กำลังเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังบางปะอิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเศร้าโศกเสียพระทัยเป็นยิ่งนัก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงด้วยความอาลัยรัก
พร้อมทั้งจารึกคำไว้อาลัยที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองไว้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
|
|
|
อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์
ในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเศร้าโศกเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งหนึ่ง
ด้วยทรงสูญเสียพระอัครชายาเธอฯ และพระราชโอรส และพระราชธิดาถึง 3 พระองค์ในปีเดียวกัน คือ สมเด็จเจ้าฟ้าสิริราชกกุธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2430
พระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัตน์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2430 และสมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2430
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2431 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ที่ระลึกทำด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนไว้ใกล้กับอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระบรมราชเทวี
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
พระราชวังบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทร. 035-261548 , 035-261044
|
|
การเดินทาง :-
ทางรถยนต์ :-
จากกรุงเทพฯ ( ห้างฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต )ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ขับตรงไปมุ่งหน้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประมาณ 21.5 กิโลเมตร ( หลักกิโลเมตรที่ 53 ) จากนั้นแยกซ้ายเข้าอำเภอบางปะอิน ( ถนนหมายเลข 308 )
แล้วขับตรงไปประมาณ 7.2 กิโลเมตร ก็จะถึง พระราชวังบางปะอิน
...ค่าจอดรถ 20 บาท..
...รถเก๋งไปได้นะครับ ...เป็นทางราดยางตลอดเส้นทาง..
...สอบถามเส้นทางได้จาก 08-1629-3354...โจ ( เจ้าของเว็บหามานานดอทคอม )
ทางรถโดยสารประจำทาง :-
จากสถานีขนส่งสายเหนือ ( หมอชิต 2 ) นั่งรถสายกรุงเทพฯ - บางปะอิน ไปลงที่ บขส. บางปะอิน ( สุดสาย )
จากนั้นเหมาสามล้อเครื่องไปส่งที่พระราชวังบางปะอิน
หมายเหตุ : - รถปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพ - บางปะอิน ขึ้นรถบริเวณฝั่งตรงข้ามห้างฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต
|
|
|