: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ เ ชี ย ง ด า ว : : :
|
- - - - > แลกเปลี่ยนประสบการณ์ < - - - -
|
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว
เป็นแนวเทือกเขาติดต่อจากดอยเชียงดาวและดอยผาแดง เป็นป่าผืนเดียวกันกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว และอุทยานแห่งชาติศรีลานนา
ซึ่งรวมเรียกว่า ป่าทางด้านเหนือของประเทศ เป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิงและแม่แตง เรียกว่า ขุนน้ำปิงและขุนน้ำแม่แตง อยู่ในป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว
ท้องที่กิ่งอำเภอเวียงแหน อำเภอเชียงดาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าลุมแม่น้ำฝาง ท้องที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน
สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจคือ น้ำตกศรีสังวาลย์ น้ำตกปางตอง น้ำรูนิเวศน์ ถ้ำแกลบ ถ้ำตับเต่า โป่งน้ำร้อน ดอยผาตั้ง ดอยผาแดง
ชมวิวยอดดอย นอกจากนี้ยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,248 ตารางกิโลเมตร
หรือ 780,000 ไร่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไป
ของอุทยานแห่งชาติเชียงดาว ประชาชนรู้จักและคุ้นเคยกับสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาวมาก่อน อีกทั้งเป็นชื่อของอำเภอเชียงดาว ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่งมีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลาย มีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง เช่น ถ้ำ น้ำตก จุดชมวิว เป็นต้น
กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งที่ 475/2532 ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2532 ให้นายโชดก จรุงคนธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้น
ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว ท้องที่อำเภอเวียงแหน อำเภอเชียงดาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้มีการสำรวจเพิ่มเติมตามคำสั่งกรมป่าไม้
ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2532 เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
และหน่วยงานอุทยานแห่งชาตินี้ได้ขออนุมัติใช้ชื่ออุทยานแห่งชาติตามหนังสืออุทยานแห่งชาติที่ กษ. 0713 (ชด)/9 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533
ว่า " อุทยานแห่งชาติเชียงดาว " ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้ ( นายไพโรจน์ สุวรรณกร ) ให้อนุมัติให้ใช้ชื่อ
" อุทยานแห่งชาติเชียงดาว " เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2533
ทั้งนี้เพราะเป็นชื่อป่าสงวนแห่งชาติ และอำเภอเชียงดาว ซึงประชาชนรู้จักกันดี
ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ประชุมครั้งที่ 1/2538 ลงวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2538 มีมติเห็นชอบ ให้กรมป่าไม้ดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเชียงดาว โดยเสนอ
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ที่ นร 0204/5718
ลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 ยืนยันมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณป่าเชียงดาว ในท้องที่ตำบลเมืองนะ ตำบลทุ่งข้างพวง
ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว ตำบลเปียงหลวง ตำบลแสนไห ตำบลเวียงแหง อำเภอเวียงแหง และป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ในท้องที่ตำบลหนองบัว ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ
จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น และสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
นำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายตามหนังสือที่ นร 0204/14602
ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 98ก
วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
น้ำตกศรีสังวาลย์
เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีความกว้างประมาณ 10-12 เมตร มีความสูงประมาณ 10-15 เมตร มีน้ำตก 3 ชั้น ไหลลงเป็น 3 ช่วง เกิดจากขุนน้ำนาหวาย
สภาพทั่วไปบริเวณน้ำตกมีพันธุ์ไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บ้าง ตอนต้นน้ำพื้นที่ใกล้เคียงถูกแผ้วถางป่า ป่าโปร่งมีป่าไผ่แทรกอยู่บ้าง ตอนท้ายของน้ำตกยังมีสภาพดีอยู่
น้ำตกนี้อยู่ที่ บ้านนาหวาย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว ห่างจากถนนลาดยางประมาณ 300 เมตร แยกที่ กิโลเมตร 24/500
( ทางหลวงหมายเลข 1178 ถนนเมืองราย - บ้านนาหวาย ) อยู่ห่างจากอำเภอเชียงดาวประมาณ 35 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวกสบาย จึงมีคนนิยมไปเที่ยวพักผ่อน
น้ำตกปางตอง
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่ซ่อนตัวอยู่ในป่า มีลักษณะเด่นสวยงามเฉพาะตัว เกิดจากลำน้ำขุ่นแม่งาย น้ำจะไหลลงจากเขาลอดลงรูไปใต้ดินระยะทางประมาณ
50-60 เมตร แล้วไหลออกจากรูลงหน้าผา เป็นน้ำตกกว้างประมาณ 10 เมตร มี 3 ชั้น 2 ช่วง บริเวณน้ำตกมีสภาพป่าเป็นธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ
มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น อยู่ห่างจากถนนดินลูกรังบดอัดตรง กิโลเมตรที่ 20 ( ถนน ร.พ.ช.สายป้ายแม่จาเปียงหลวง )
การคมนาคมสะดวกทุกฤดู สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้
ถ้ำแกลบ
เป็นถ้ำขนาดกลางเกิดจากเขาหินภายในถ้ำ มีความกว้างประมาณ 10 เมตร มี ค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
พื้นล่างเป็นทางน้ำไหลออกมาภายในถ้ำไหลออกมาทางหน้าถ้ำ ระยะทางเดินเข้าไปเท่าที่สำรวจได้ประมาณ 500 เมตร
ผนังถ้ำด้านข้างตลอดทางมีลักษณะเป็นชั้นยื่นออกมาทั้งสองด้าน สันนิษฐานว่าเป็นลักษณะรางน้ำที่น้ำกัดเซาะจนแยกออกจากกันเป็นร่องน้ำ " ผนังด้านบนมีหินงอกหินย้อย "
สวยงามสลับกันไป ด้วยหน้าถ้ำเป็นพื้นที่ราบ ส่วนบนภูเขาใกล้เคียงมี ฝูงลิง อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณนี้อยู่ห่างจากถนนลูกรัง
( ตอนแยก กม.99-บ้านห้วยจะด่าน ) ประมาณ 60 เมตร ถ้ำอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 ( เชียงใหม่ อำเภอฝาง ) ตรง กม. ที่ 99 ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ถ้ำตับเต่า
อยู่ตรงบริเวณบ้านตับเต่า หน้าถ้ำเป็นวัดป่า มีอายุประมาณ 40-50 ปีขึ้นไป มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เจริญมาก ลักษณะถ้ำเป็นถ้ำที่มีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว
จากการสำรวจด้านที่ติดกับเขามีลำห้วยไหลผ่านเข้าไปในเขตวัด น้ำใสสะอาดตลอดปี มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงสมบูรณ์มาก
การคมนาคมสะดวกทุกฤดูกาล การเดินทางแยกตรง กม. ที่ 118 ( ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 เชียงใหม่ - ฝาง ) และมีถนนลูกรังตรงไปถึงบริเวณวัดประมาณ 3 กิโลเมตร
ปัจจุบันมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีคนนิยมไปเที่ยวชมกันมาก
ดอยผาตั้ง
เป็นเขาหินสูงที่มีลักษณะเด่นในตัวคือ เป็นแท่งกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ มีความสวยงาม ตรง กม. ที่ 93
( ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 เชียงใหม่ - ฝาง ) ระยะทางเข้าไปถึงประมาณ 300 เมตร
ดอยผาแดง
ถ้ำแกลบเป็นเขาหินสูงเรียงตัวกันไปมา ทำให้เกิดจุดเด่นเฉพาะ มีลักษณะเป็นทิวทัศน์มีความสวยงาม อยู่ตรง กม. ที่ 98
( ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 เชียงใหม่ - ฝาง )
โป่งน้ำร้อน
เป็นบ่อน้ำร้อนขนาดเล็ก มีแก๊ส กำมะถัน และควันไอน้ำระเหยขึ้นมา มีน้ำไหลตลอดปี ในบริเวณทางเข้าหมู่บ้านบริเวณโป่งอ่าง แยก กม. 22
( ถนนเมืองราย - บ้านนาหวาย ) ห่างจากทางแยกประมาณ 2 กิโลเมตร ตรงบริเวณนี้ " มีนกหลายชนิดชุกชุม "
จุดชมวิวยอดดอย
อยู่ตรง กม. ที่ 45 เส้นทาง ร.พ.ช. แม่จา - เปียงหลวง บริเวณนี้เป็นพื้นที่สวนป่าของหน่วยจัดการต้นน้ำขุนคอง ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ
สามารถชมทิวทัศน์ได้ทั้งสองเขต คือ ทางด้านเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาวและเขตที่สำรวจเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเชียงดาว
จุดชมวิวยอดดอยถ้วย
อยู่ทางตอนเหนือของพื้นที่สำรวจ ซึ่งยอดดอยถ้วยนี้เป็นจุดต้นที่สุดของลำห้วยแม่น้ำปิง ซึ่งเรียกว่า " ขุนปิง "
สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ อากาศเย็นสบาย สามารถ ชมทิวทัศน์ที่งดงามทั้งในเขตประเทศไทย และประเทศพม่า
โดยเริ่มการเดินทางจากบ้านเมืองนะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว ไปตามสันเขาถึงบริเวณฐานยอดดอยถ้วย ระยะทางเดินเท้าประมาณ 10 กิโลเมตร
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ภูเขาทางด้านตะวันออกส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินชั้น มีดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยถ้ำแกลบ ดอยหัวโท
ดอยขุนห้วยไซ ดอยผาแดง ดอยถ้ำง๊อบ ดอยด่านฟาก เป็น ภูเขาทางด้านตะวันตกส่วนใหญ่ เป็นเขตที่มีผืนป่าใหญ่ปกคลุมอยู่ มีดอยที่สำคัญได้แก่ ดอยกำพร้า ดอยปุกผักกา
ดอยเหล็กจี ดอยสันกิ่วคมพร้า ดอยกิ่วฮูลม ดอยถ้วย ดอยยางกลอ เทือกเขาตอนกลางระหว่างห้วยแม่จกถึงบ้านหนองเขียวแนวเหนือ - ใต้ เป็นที่ราบลุ่มที่มีความสูงไม่มากนัก
มีดอยถ้ำยุง ดอยขุนเป้า เป็นต้น มียอดเขาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่มีความสูงสุดของพื้นที่ได้แก่ ดอยกำพร้ามีความสูง 1,794 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ระหว่าง 400-1,800 เมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก เพราะอยู่ในแนวทางที่มีร่องอากาศพาดผ่าน
โดยได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
ภูมิอากาศโดยทั่วไป อากาศค่อนข้างจะร้อนในฤดูร้อน จะหนาวเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ต่ำสุด 7.5 องศาเซลเซียส
และเฉลี่ย สูงสุด 26.7 องศาเซลเซียส ฝนตกชุกในฤดูฝน มีประมาณ น้ำฝนเฉลี่ยรายปีประมาณ 1,838.5 มิลลิเมตร
โดยเดือนสิงหาคมจะมีฝนตกมากที่สุด
ลักษณะอากาศที่ผิดปกติ:-
ไม่มีภัยธรรมชาติร้ายแรงมากนัก ยกเว้น
ในช่วงฤดูฝนมักมีลมแรงจัดในช่วงฝนตกหนัก มีลูกเห็บ ตกตามมาด้วย ทำลายผลไม้ให้เสียหายได้และอาจมีน้ำไหลบ่าด้วยความรวดเร็ว
มีปริมาณน้ำมาก ทำความเสียหายแก่เส้นทางคมนาคมในเขตพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงด้วย
|
|
พรรณไม้ :-
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายชนิด ชนิดป่าประกอบด้วย
ป่าไม้ผลัดใบ ได้แก่ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ป่าสนเขา
พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ จำปีป่า ยาง ตะเคียน สมอพิเภก อบเชย ทะโล้ ไม้สนเขา ไม้เหียง ไม้พลวง
ป่าผลัดใบ ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ
ประดู่ แดง ตะแบก ยอป่า เสลา ยมหิน ไผ่เวก ไผ่ป่า หญ้าชนิดต่างๆ เต็ง รัง ติ้ว แต้ว สมอไทย กระโดน ฯลฯ
|
|
สัตว์ป่า :-
ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด เพราะเป็นป่าผืนเดียวกับป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว อำเภอเชียงดาว
สัตว์ป่าที่สำคัญประกอบด้วย กวางผา เก้ง หมูป่า วัวแดง กระทิง เม่น ค่าง อีเห็น กระรอก กระแต และมี นกนานาชนิด
สัตว์เลื้อยคลานชนิดต่างๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบชนิดต่างๆ คางคก อึ่งอาง เขียด ฯลฯ ส่วนใหญ่พบตามลุ่มน้ำ
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติเชียงดาว มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว ดังนี้
@ |
ชื่อบ้านพัก |
ห้องพัก/ห้องน้ำ |
จำนวนคน |
บาท/คืน/หลัง |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
1 |
บ้านเชียงดาว 1 |
2/2 |
10 |
1,000 |
มีเตียง, เครื่องนอน, โต๊ะ |
2 |
บ้านเชียงดาว 2 |
3/2 |
10 |
1,500 |
มีเตียง, เครื่องนอน, โต๊ะ |
หมายเหตุ :- หากปรากฏว่ามีผู้เข้าพักแรมเกินจำนวนที่กำหนด ต้องจ่ายค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก
ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน สำหรับที่พักลำดับที่ 1 และอัตราคนละ 100
บาท/คน/คืน สำหรับที่พักลำดับที่ 2 โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
งานบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-5734, 0-2579-7223 ต่อ 724 หรือ 725
หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติเชียงดาว ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50180 โทรศัพท์ 0-5381-8348
หรือที่เว็บไวต์ http://www.forest.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
ปัจจุบันการคมนาคมได้รับการพัฒนาการก่อสร้างทางถนนเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้การเดินทางไปตามจุดต่างๆ สะดวกรวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดให้ท้องที่เชียงใหม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยสามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง ดังนี้
1. เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 ( เชียงใหม่ - ฝาง )
ถนนลาดยางที่อยู่ติดเขตพื้นที่ป่าสำรวจ ได้แก่ ช่วงบ้านปิงโค้ง ( กม.83 ) อำเภอเชียงราย - แยกเข้าบ้านตับเต่า ( กม.118 ) กิ่งอำเภอไชยปราการ
2. เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1178 ( ตอนแยกเมืองงาย กม.79 บ้านนาหวาย กม.24 )
เป็นถนนลาดยางระยะทาง 24 กิโลเมตร และจากบ้านนาหวาย กม. ที่ 24 - บ้านเมืองนะ ถนนดินลูกรังบดอัดระยะทางประมาณ 34 กิโลเมตร ใช้งานได้ทุกฤดูกาล
3. ถนน ก.ป.ร. กลาง
เป็นถนนดินลูกรังบดอัดระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เข้าบ้านห้วยจะด่าน ( แยก กม.ที่ 99 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 )
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติเชียงดาว :-
|
|
|