อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่

ทัช สตาร์ รีสอร์ท

ลิงก์ผู้สนับสนุน



กลับหน้าแรกหามานานท่องเที่ยวทั่วไทย
เชียงใหม่
 เ ชี ย ง ใ ห ม่
   เ ท ศ ก า ล / ป ร ะ เ พ ณี
   โ ร ง แ ร ม แ ล ะ ที่ พั ก
   ร้ า น อ า ห า ร
   ร้ า น ค้ า
   บ ริ ษั ท ทั ว ร์ / ร ถ เ ช่ า
   ส มุ ด เ ยี่ ย ม ช ม
   ส ม า ชิ ก ท่ อ ง เ ที่ ย ว
   ภ า พ ถ่ า ย
   ก า ร เ ดิ น ท า ง
   แ ผ น ที่


   แ จ้ ง แ ก้ ไ ข ข้ อ มู ล
 
แลกลิงค์กับหามานานดอทคอม
แ ล ก ลิ ง ค์ กั บ เ ร า
: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ด อ ย อิ น ท น น ท์ : : :
- -> ภาพจากนักเดินทางโดย กล้องดิจิตอล Cyber - shot U รุ่น DSC-U10 ของ Sony <- -

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มี ดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศไทย มีความสูง 2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีสภาพป่าเป็นต้นน้ำลำธารของแม่น้ำหลายสาย และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าที่ เขื่อนภูมิพล มีลักษณะทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะ น้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ มีเนื้อที่ประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่

ดอยอินทนนท์ ภาพโดย คุณบุญเลิศ
ส่งภาพถ่ายให้เรา
 

ประวัติความเป็นมา :-
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า " ดอยหลวง " หรือ " ดอยอ่างกา " คำว่าดอยหลวงหมายถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำแต่ก่อนนี้มีฝูงกาลงไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่าอ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า " ดอยอ่างกา " เมื่อครั้งที่พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือยังอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่างๆ นั้น ในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ " ดอยหลวง " พระองค์มีความหวงแหนเป็นพิเศษ ขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่ได้สั่งไว้ว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยหลวงด้วย ต่อมาคำว่าดอยหลวง ก็ถูกเปลี่ยนเป็น " ดอยอินทนนท์ " ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงนี้ จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่

ป่าดอยอินทนนท์แห่งนี้เป็นป่า 1 ใน 14 แห่งแรก ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 103 ( พ.ศ. 2502 ) ออกตามความพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2508 กองบำรุงกรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 119/2508 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ( ขณะนั้นเป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบำรุง ) ให้นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรีไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2515 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ( นายปรีดา กรรณสูต ) ได้มีบัญชาให้ นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิชาการป่าไม้โท ทำการสำรวจทางฮอลิคอปเตอร์ เพื่อจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2515 ปรากฏว่าป่าดอยอินทนนท์ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับศูนย์อำนวยการร่วมฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ได้มีหนังสือที่ กห 0312/4757 ลงวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2515 เสนอหัวหน้าคณะปฏิวัติ ( จอมพลถนอม กิตติขจร ) ให้กำหนดป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2515 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการ กรมป่าไม้จึงดำเนินการจัดตั้งบริเวณที่ดินป่าดอยอินทนนท์ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ย ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง, ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 168,750 ไร่เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 148 เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศ

เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จที่บริเวณดอยขุนกลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้พิจารณาดำเนินการขยายอาณาเขตของอุทยานแห่งชาตออกไปคลุมถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารเพิ่มขึ้นอีก กรมป่าไม้ได้ทำการตรวจสอบและสำรวจเพิ่มเติม ปรากฏว่าตามที่กำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติระบุท้องที่ตำบลแม่ศึก ซึ่งมิได้อยู่ในแนวเขตอุทยานฯ และมิได้ระบุ ท้องที่ตำบลช้างเคิ่งและตำบลท่าผา ซึ่งอยู่ในแนวเขตอุทยานฯ ดังกล่าว ประกอบกับทางราชการกองทัพอากาศประสงค์ที่จะกันพื้นที่บางส่วนเพื่อก่อสร้างสถานีเรดาร์ เพื่อใช้ในราชการกองทัพอากาศ เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสงค์ที่จะปรับปรุงขยายแนวเขตอุทยานแห่งชาติออกไป โดยกำหนดป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติจอมทอง และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ ครั้ง 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2518 ได้มีมติเห็นชอบ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ทั้ง 3 ป่าจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลนาจร ตำบลช้างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม, ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง และตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2521 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่น 95 ตอนที่ 62 ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2521 รวมเนื้อที่ 301,500 ไร่ โดยให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2515
 
Top
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :

สถานที่น่าสนใจ :-
ปัจจุบันราชการทหารได้ตัดถนนนขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ทำให้เดินทางไปโดยรถยนต์ได้สะดวก สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสธรรมชาติอย่างแท้จริงก็อาจเลือกวิธีเดินเท้า ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมก่อนที่จะมีทางรถยนต์ ทางเดินที่นิยมมักเริ่มต้นจากน้ำตกแม่กลาง คืนแรก พักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงหรือกลางป่า คืนที่สอง พักที่หมู่บ้านกะเหรี่ยงผาหม่อน คืนที่สาม พักที่ปางสมเด็จ แล้วขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ในระหว่างทางจะได้รับความเพลิดเพลินกับบรรยากาศป่าเขา และได้ศึกษาความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงไปด้วย

ยอดดอยอินทนนท์ ซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดของประเทศ สูงจากระดับน้ำทะล 2,565 เมตร ซึ่งคนไทยส่วนมากต้องการไปสัมผัสเพื่อประวัติของชีวิต อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ ต้นไม้ในบริเวณยอดดอยแปลกไปกว่าที่อื่นเพราะสภาพป่าประดุจดังป่าโลกล้านปี ตามต้นไม้มีตะไคร่และมอสจับเขียวครึ้ม พันธุ์ไม้ดอก เช่น กุหลาบป่าคล้ายกับที่ภูกระดึง แต่สูงใหญ่มากจนเรียกกันว่า " กุหลาบพันปี " นอกจากนี้ยังมีลานข้าวตอกฤาษีซึ่งเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาลอ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมากและอากาศหนาวเย็นเท่านั้น

บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 31 ณ ดอยขุนกลาง ภูมิประเทศโดยรอบจะเป็นทุ่งหญ้าคาเนื่องจากป่าถูกถางลงเมื่อ 50 ปี ที่แล้วมา เป็นดอยที่ลดหลั่นประดุจดังคลื่น โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเขียวขจี เป็นทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกตาจนน่าบันทึกไว้บนแผ่นฟิล์ม อย่างไรก็ตามบุคคลทั่วไปก็ยังรักที่จะเห็นป่ามากกว่าทุ่งหญ้าคาแบบนั้น

น้ำตกแม่กลาง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ จากถนนสายจอมทอง - ดอยอินทนนท์ ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 8 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง

น้ำตกแม่ยะ อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานฯ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ มีความสูงถึง 260 เมตร จนกล่าวกันว่า " เป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ " เหมือนเอาบรรดาน้ำตกต่างๆ มารวมกันไว้ที่นี่ ทางเข้าน้ำตกนี้แยกจากถนนสายจอมทอง - ฮอด ไปทางขวามือซึ่งมีป้ายบอกไว้ที่ข้างทาง

น้ำตกสิริภูมิ เดิมชื่อ น้ำตกเลาลี ตามขื่อของชาวเขา ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ น้ำตกนี้ต่อมา ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขนานนามว่า " สิริภูมิ " เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ น้ำตกนี้อยู่ใกล้หลักกิโลเมตรที่ 31 ถนนสายจอมทอง - ดอยอินทนนท์

น้ำตกวชิรธาร หรือน้ำตกเมืองโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง อยู่ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 22 ถนนสายจอมทอง - ดอยอินทนนท์ มีน้ำไหลจากหน้าผาสูงถึง 70 เมตร


ถ้ำบริจินดา เป็นถ้ำที่สวยที่สุดในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มี หินงอกหินย้อย อยู่บนภูเขาด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ

นอกจากนี้ ในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังมีถ้ำอยู่หลายแห่ง
 
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
 

ภาพถ่าย :-
ส่งภาพถ่ายให้เรา
 

สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มี ดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาสูงที่สุดในประเทศไทย สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวหมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ดอยอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ให้พลังงานไฟฟ้าเขื่อนภูมิพล
 

สภาพภูมิอากาศ :-
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี ความชื้นสูงมาก โดยเฉพาะบนดอย แม้นำฟืนมาก่อไฟก็จะติดไฟได้ยาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะลดลงต่ำกว่า ศูนย์องศาเซลเซียส ทุกปี ในฤดูร้อนแม้ว่าอากาศในตัวเมืองเชียงใหม่หรืออำเภอใกล้เคียงจะร้อน แต่บนยอดดอยอินทนนท์ยังมีอากาศเย็นอยู่จะต้องสวมเสื้อกันหนาว ฉะนั้นผู้ที่จะไปเที่ยวดอยอินทนนท์ควรจัดเตรียมเสื้อหนาๆ ติดตัวไปด้วย
 

พรรณไม้ :-
สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่โล่งสลับกับป่าไม้ เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าแม้วถางป่าทำไร่ จะเห็นได้จากบริเวณสองข้างทางขึ้นบนยอดดอยอินทนนท์ เป็นภูเขาหัวโล้นทั้งหมด ซึ่งเป็นทิวทัศน์ที่แตกต่างจากอุทยานฯ อื่นๆ

ป่าไม้ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีหลายชนิด คือ ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจดังนี้ คือ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เก็ดแดง จำปีป่า ตะแบก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าที่สวยงามหลายชนิด เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่า สำหรับมอส ข้าวตอกฤาษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง
 

สัตว์ป่า :-
สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ได้แก่ เลียงผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และไก่ป่า
 

สถานที่พักแรม :-

    อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
    ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
    และมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว
    งานบ้านพัก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
    61 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
    โทร. 02-5620760
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
61 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-5620760

หรือติดต่อที่
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 119 หมู่ 7 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์ 053-286728 , 053-286730


หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th

หรือที่เว็บไซต์ http://www.doiinthanon.com
 

ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
  1. ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
  2. ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
  3. ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
  4. ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
  5. หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
 

การเดินทาง :-
จากตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามถนนสายเชียงใหม่ - ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 58 ก่อนถึงตลาดอำเภอจอมทอง จะมีถนนแยกไปทางขวามือ ( ถนนสายจอมทอง - ดอยอินทนนท์ ซึ่งระยะทางถึงยอดดอยอินทนนท์ประมาณ 48 กิโลเมตร ) และจากทางแยกดังกล่าว เดินทางไปอีกประมาณกิโลเมตรที่ 8 จะมีเส้นทางแยกทางซ้ายมือเลี้ยวเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกแม่กลาง และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
 
 

แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ :-

 

: : : ส ถ า น ที่ ท่ อ ง เ ที่ ย ว น่ า ส น ใ จ : : :

แนะนำที่เที่ยวให้เรา
ข่าวประชาสัมพันธ์ : : : ข่ า ว ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ : : :
มีข่าวอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้บอกเราได้เลย เราจะนำมาลงให้นะครับ ขอบคุณที่ส่งข่าว
ฝากข่าว
โฆษณา : : : โ ฆ ษ ณ า สิ น ค้ า แ ล ะ บ ริ ก า ร : : :
โฆษณาตรงนี้จะปรากฎทั้ง 76 จังหวัดภายในเว็บแห่งนี้
ติดต่อโฆษณาคลิกที่นี่
: : : อ ะ ไ ร ดี ๆ จ า ก บ อ ร์ ด ท่ อ ง เ ที่ ย ว : : :
เก็บอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้จากบอร์ดหามานท่องเที่ยวมาฝากครับ...
ตั้งกระทู้ใหม่
 

- : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : -
ค้นหาคำว่า :
Add Web
 
-:-เลือกจังหวัดที่ต้องการ-:-

 บอร์ดหามานานท่องเที่ยว

ส่งและดูภาพทั่วไทย
ส่ง + ดูภาพทั่วไทย

ส่งการ์ดท่องเที่ยว
ส่งการ์ดท่องเที่ยว

ปฏิทินท่องเที่ยว
ปฏิทินท่องเที่ยว

อ่านและฝากข่าวท่องเที่ยว
อ่านและฝากข่าวท่องเที่ยว

เล่าเรื่องเที่ยว
เล่าเรื่องเที่ยว

- - - - - - - - - - - - - - - -

 

 
Copyright © 2002 All right reserved. webmaster@hamanan.com ไปหน้าแรกหามานานดอทคอม