: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ขุ น ข า น : : :
|
- - - - > แลกเปลี่ยนประสบการณ์ < - - - -
|
อุทยานแห่งชาติขุนขาน
มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 397 ตารางกิโลเมตร หรือ 248,125 ไร่
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง และตำบลบ้านจันทร์
ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
จังหวัดเชียงใหม่
โดยสำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ ได้ทำการสำรวจและพิจารณาแล้วเห็นว่า พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์
มีสภาพธรรมชาติอันสวยงาม มีน้ำตก หน้าผา ถ้ำ หลายแห่ง เหมาะสมให้กรมป่าไม้ทราบและพิจารณา กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 934/2536 ลงวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2536
ให้นายสุรศักดิ์ วุฒิอิ่น ตำแหน่งเจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติมาดำเนินการสำรวจจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า
" อุทยานแห่งชาติขุนขาน "
การดำเนินการสำรวจจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนขาน
ได้ดำเนินการสำรวจ มีเนื้อที่ประมาณ 442,500 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง และตำบลบ้านจันทร์
ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รายงานให้ส่วนอุทยานแห่งชาติและนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า พื้นที่บริเวณที่สำรวจจัดตั้งทับซ้อนกับพื้นที่ที่กำลังมีปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติภาคเหนือ 13 แห่ง จึงได้มีมติที่ประชุม
ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขานไปดำเนินการแก้ไขปัญหาราษฎรร้องเรียนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 13 แห่ง
ทับซ้อนพื้นที่ทำกินของราษฎรก่อน
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติขุนขาน
ได้เข้าร่วมดำเนินการพิจารณาแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของราษฎร ของคณะกรรมการตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2540
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2540 เห็นชอบผลการเจรจากลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน กรณีป่าอนุรักษ์ภาคเหนือ ( เขตอุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1)
จำนวน 19 แห่ง ซึ่งปรากฏว่าไม่มีรายชื่ออุทยานแห่งชาติขุนขานอยู่ในข้อเรียกร้องแล้ว สำหรับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่อุทยานฯ ได้ดำเนินการประชุมชี้แจงแก่สภาตำบล
และองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จำนวน 6 ตำบล รวมทั้งทำการเดินสำรวจกันเขตที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของราษฎรออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ
ร่ามกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน สมาชิก อบต. และร่วมกันกำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ พร้อมปรับลดพื้นที่ให้เหมาะต่อการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติในอนาคต
ทำให้ขนาดของพื้นที่ลดลงเหลือพื้นที่ 248,125 ไร่
|
Top |
ที่ตั้งและอาณาเขต :-
พื้นที่สำรวจจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขุนขาน
เป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่สาบ ตำบลบ่อแก้ว ตำบลสะเมิงเหนือ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง และตำบลแม่แดด
ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 18 องศา 46 ลิปดา ถึง 19 องศา 02 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูดที่ 98 องศา 23 ลิปดา ถึง 98 องศา 49 ลิปดาตะวันออก
มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 397 ตารางกิโลเมตร หรือ 248,125 ไร่
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ลาย อำเภอฮอด และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
อาณาเขต
ทิศเหนือ
จด ----- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง ท้องที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้
จด ----- พื้นที่เตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติออบขาน ท้องที่ตำบลบ่อแก้ว ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก
จด ----- ท้องที่ตำบลโป่งแยง ตำบลแม่แรม อำเภอเแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก
จด ----- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม ท้องที่ตำบลแม่แดด ตำบลแม่นาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิง
บริเวณริมถนนสายสะเมิง - แม่ริม ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 24-25 พิกัด 773865 ท้องที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ถ้ำหลวงแม่สาบ
พิกัด 701854 ท้องที่บ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิง อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นถ้ำขนาดกลาง ลึกประมาณ 150 เมตร
มีสองชั้นหลายคูหา ภายในถ้ำมี หินงอกหินย้อย และบรรลังก์หิน
น้ำตกห้วยตาด
พิกัด 652008 ท้องที่บ้านขุนสาบใต้ ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีจำนวน 2 ชั้น
สูงประมาณ 10 และ 30 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี
น้ำตกห้วยแม่นาเปอะ
พิกัด 554897 ท้องที่บ้านอมลอง ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีจำนวน 7 ชั้น
สูงประมาณ 5-15 เมตร มีน้ำไหลตลอดปี
จุดชมทิวทัศน์ป่าสะเมิงและป่าแม่แจ่ม
บริเวณสองข้างถนนสายสะเมิง - วัดจันทร์ ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 35-55 ถนนช่วงดังกล่าวลัดเลาะไปตามสันเขาเขตติดต่ออำเภอสะเมิงและอำเภอแม่เจ่ม
ผาสามหน้า
พิกัด 433683 ท้องที่บ้านสบผาหลวง ตำบลนาจาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน้าผาบนยอดเขา สูง 1,253 เมตร
มีลักษณะเป็นหน้าผาอยู่สามด้าน มีเลียงผาอาศัยอยู่
บริเวณที่ทำการชั่วคราวของอุทยานฯ
พิกัด 604844 ริมถนนสายสะเมิง - วัดจันทร์ หลักกิโลเมตรที่ 18 ท้องที่บ้านแม่ขาน ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
มีน้ำอุ่นผุด จากใต้ดินอยู่กลางลำน้ำแม่โต๋ อุณหภูมิของน้ำ 38 องศาเซลเซียส
และอุทยานฯ ได้จัดทำเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ จำนวน 1 เส้นทาง ระยะทาง 3,420 เมตร เริ่มจากที่ทำการฯ ผ่านป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าสนสองใบ
ถึงสบน้ำแม่โต๋ - น้ำแม่บ่อแก้ว แล้วขึ้นตามลำน้ำแม่บ่อแก้วผ่าน ต้นตะเคียนใหญ่ ขนาด 4.10 และ 4.70 เมตร
ตามลำน้ำมีแก่งหินและออบขนาดเล็ก เส้นทางฯ จะไปสิ้นสุดที่ บ่อน้ำอุ่น
" นอกจากนี้ " ยังมีน้ำตกขนาดเล็ก หน้าผาอีกหลายแห่ง และมีเส้นทางทัวร์ป่า
ที่บริษัททัวร์นำนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเข้าท่องเที่ยวอยู่เป็นประจำ
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนโดยทั่วไป มีความสูงตั้งแต่ 500-1,708 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดดอยปุงเกี้ย สูง 1,708 เมตร
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของแม่น้ำแม่ขานและแม่น้ำแม่แจ่ม แม่น้ำทั้ง 2 สาย ไหลลงสู่ แม่น้ำปิง
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิเฉลี่ยโดยทั่วไป 23 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,380 มิลลิเมตร
|
|
พรรณไม้ :-
ชนิดป่าและพันธุ์ไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนขาน ประกอบด้วยชนิดป่าได้แก่
ป่าดิบเขา พบตามภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตร
ขึ้นไป บริเวณตอนบนของพื้นที่และบริเวณเทือกเขาแบ่งเขตอำเภอสะเมิงและอำเภอแม่แจ่ม
พันธุ์ไม้ที่พบมาก ได้แก่ ก่อ สนสามใบ ทะโล้ ตุ้มแต๋น มะขามป้อม จำปี มะส้าน สารภีป่า นมนาง เป็นต้น
ป่าดิบแล้ง พบทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วยในระดับความสูง 600-1,000 เมตร
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำใยป่า มะไฟ มะเดื่อ เป็นต้น
ป่าสน พบทั่วไปบริเวณยอดเขาที่ระดับความสูง 700-1,300 เมตร
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณ พบทางทิศตะวันออกของพื้นที่
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ สัก เติม สมอไทย เส้า แดง ประดู่ เสี้ยว มะแฟน ซ้อ เป็นต้น
ป่าเต็งรัง พบมากโดยทั่วไปบริเวณภูเขาที่ไม่สูงมากนัก
พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง สนสองใบ มะกอก เส้า เสี้ยว เป็นต้น
|
|
สัตว์ป่า :-
สัตว์ป่าที่มีมาก
ได้แก่ เก้ง หมูป่า ไก่ป่า เม่น หมาไน หมาจิ้งจอก นิ่ม ตุ่น กระรอก กระต่ายป่า บ่าง ค้างคาว อีเห็น พังพอน เป็นต้น
สัตว์ป่าที่มีน้อยได้แก่ ลิง ชะนี เสือ เลียงผา นกกก เป็นต้น
|
|
สถานที่พักแรม :-
สอบถามรายละเอียดที่เบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนะครับ
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
งานบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-5734, 0-2579-7223 ต่อ 724 หรือ 725
หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติขุนขาน สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 0-5381-8348
หรือที่เว็บไวต์ http://www.forest.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางเข้าสู่พื้นที่สำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติขุนขาน เริ่มต้นจากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถเดินทางไปได้ 2 เส้นทาง ดังนี้
1. ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 ( เชียงใหม่ - ฝาง ) ระยะทาง 16 กิโลเมตร ถึงอำเภอแม่ริม แยกซ้ายมือไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1096
( แม่ริม - สะเมิง ) ระยะทาง 35 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอสะเมิง
2. ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ( เชียงใหม่ - แม่สะเรียง ) ระยะทาง 10 กิโลเมตร
ก่อนถึงอำเภอหางดง แยกขวามือไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1296 ระยะทาง 48 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอสะเมิง
จากที่ว่าการอำเภอสะเมิงไปตามถนน รพช. สายสะเมิง - วัดจันทร์ ระยะทาง 18 กิโลเมตร ถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติขุนขาน
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติขุนขาน :-
|
|
|