: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ แ ม่ ฝ า ง : : :
|
อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก ( แม่ฝาง )
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ
เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าและของป่าหลายชนิด มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงาม เช่น ถ้ำห้วยบอน บ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
ของจังหวัดเชียงใหม่ และสามารถเดินทางเข้าไปเที่ยวได้สะดวกสบาย มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 380 ตารางกิโลเมตร
หรือ 237,500 ไร่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
ในปี พ.ศ. 2511 สำนักงานป่าไม้เขตเชียงใหม่
ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สำรวจและดำเนินการตกแต่งให้เป็นสถานที่พักผ่อนในเขตท้องที่ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2524 กรมป่าไม้ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็น
" วนอุทยานบ่อน้ำร้อน " พ.ศ. 2531 ส่วนอุทยานแห่งชาติได้จัดเจ้าหน้าที่ของส่วนอุทยานฯ มารับงานวนอุทยานบ่อน้ำร้อนฝาง
เพื่อดำเนินการสำรวจและจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติลุ่มน้ำดฝางเขตท้องที่ อำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้ชื่อว่า
" อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง " มีเนื้อที่ประมาณ 380 ตารางกิโลเมตร
หรือ 237,500 ไร่
ตามที่คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2357 เห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการเสนองร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง
ในท้องที่ ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลมะลิกา ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลเวียง ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง
และตำบลปงดำ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือ ที่ นร 0204/12952 ลงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542 แจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
และได้แก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น พร้อมทั้งแจ้งว่าพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนแห่งชาติตามกฏกระทรวง
ฉบับที่ 213 ( พ.ศ. 2510 ) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 การทับซ้อนดังกล่าว สมควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ดำเนินการออกกฏกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในส่วนที่ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฏหมาย 2 ่ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญคล้ายคลึงกันในพื้นที่เดียวกัน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือที่ กษ 0712.3/15437
ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 มีความเห็นให้ดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดดังกล่าว สำหรับการเพิกถอนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ทับซ้อนกับพื้นที่ที่จะกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ
เห็นควรดำเนินการหลังจาก พระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติประกาศใช้แล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือ ที่ นร 0204/1169 ลงวันที่ 6 กันยายน
พ.ศ. 2543 แจ้งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดดังกล่าว และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 117 ตอนที่ 81ก
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2543 ให้ที่ดินป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง ในท้องที่ตำบลแม่อาย ตำบลแม่สาว ตำบลมะลิกา ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลม่อนปิ่น ตำบลเวียง
ตำบลแม่สูน ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง และตำบลปงดำ ตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ให็เป็น อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2543
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
บ่อน้ำร้อน
เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 90-130 องศาเซลเซียส
มีจำนวนมากมายหลายบ่อ ในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ ( บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร ) นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจ และอาบน้ำแร่
อบไอน้ำกันเป็นจำนวนมาก ที่ตั้งของบ่อน้ำร้อนอยู่ในบริเวณเดียวกันกับที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
น้ำพุร้อน
น้ำพุร้อนจะพุ่งขึ้นมากเหนือพื้นดิน " สูงประมาณ 50 เมตร เวลาประมาณ 2 นาที "
และหยุดพุ่งประมาณ 25 นาที แล้วจะพุ่งขึ้นมาอีกเป็นระยะๆ ตลอดเวลา เป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยว อยู่ใกล้บริเวณบ่อน้ำร้อน
ห้วยแม่ใจ
เป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลมากตลอดปี น้ำใสสะอาด เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ อยู่ห่างจากบ่อน้ำร้อนประมาณ 300 เมตร
ถ้ำห้วยบอน
เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มี " ิหินงอกหินย้อย " ที่สวยงามมาก มีความลึกจากปากถ้ำหนึ่ง
ถึงอีกปากถ้ำหนึ่งประมาณ 150 เมตร กว้างประมาณ 20-30 เมตร ภายในถ้ำไม่มีจุดอันตรายต่อผู้เข้าชมและบริเวณใกล้เคียงทีถ้ำเล็กถ้ำน้อยประมาณ 10 ถ้ำ
อยู่ห่างจากอำเภอฝางประมาณ 12 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยทางเท้าจากบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
น้ำตกโป่งน้ำดัง
ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ( มฝ.3 ) ณ บ้านแม่สูนน้อย ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง
เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีการไหลของน้ำที่สม่ำเสมอ
น้ำตกห้วยเฮี้ยน
อยู่ทางตอนเหนือของลำห้วยเฮี้ยน ห่างจากถ้ำห้วยบอนประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นน้ำตกใหญ่มีประมาณ 7 ชั้น
น้ำตกตาดหมอก
ตั้งอยู่ห่างจาก อำเภอแม่อาย ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ติดกับถนนลาดยาง ลักษณะที่น้ำตกลงมาเหมือนใยแก้ว ละอองน้ำกระจายอยู่ทั่วแผ่นผาคล้ายหมอก
น้ำตกนามะอื้น
อยู่บริเวณกลางป่าทึบใน ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีทั้งหมด 3 ชั้นใหญ่ๆ
น้ำตกทั้ง 4
มีลักษณะคล้ายกัน คือ มีน้ำไหลตลอดปี และมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติอยู่มาก
ซึ่งจะเห็นได้จาก มอส เฟิร์นที่เกาะตามโขดหินข้างๆ ลำห้วย
ดอยผ้าห่มปก
เป็น " ดอยที่สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย " ด้วยความสูง 2,285 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดดอยสูงสุดเป็นทุ่งโล่งอันเกิดจากสภาพธรณีวิทยาที่มีชั้นดินตื้น ชั้นหินเป็นหินแกรนิต ประกอบกับอากาศมีลมกรรโชกแรงตลอดทั้งปี
จากยอดดอยจะเห็นทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น ทะเลหมอก และถนนบนสันเขา ขนานกับชายแดนไทย - พม่า ซึ่งถือเป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงระหว่างประเทศ
ส่วนสภาพป่าเป็นป่าต้นน้ำ ป่าดิบเขา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมดุลและหลากหลายทางชีวภาพ ดังเช่น จะพบพันธุ์พืชและสัตว์ป่าหายากนานาชนิด
อาทิ เทียนหาง ผีเสื้ออิมพิเรียน ผีเสื้อภูฐาน และนกปีกแพรสีม่วง เป็นต้น
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนซึ่งเป็นเทือกเขาผีปันน้ำ ระดับความสูงในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง ประมาณ 400-2,285 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมีภูเขาที่สำคัญคือ " ดอยแม่ห่มปก " ( สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศ )
ดอยปูหมื่น ดอยแหลม ดอยอ่างขาง อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำฝาง
พื้นที่ที่ทำการสำรวจ เป็นแนวเทือกเขาผีปันน้ำ จากอำเภอฝาง ถึงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตพื้นที่ทั้งหมด 380 ตารางกิโลเมตร
หรือ 237,500 ไร่ พื้นที่มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ :- จด --------
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
ทิศใต้ :- จด --------
ตำบลเวียง ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย
ทิศตะวันออก :- จด --------
ห้วยศาลา อำเภอแม่อาย
ทิศตะวันตก :- จด --------
สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25.4 องศาเซลเซียส
มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 13.7-19.0 องศาเซลเซียส
ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในเดือนเมษายน ประมาณ 39.1 องศาเซลเซียส และมีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,183.5 มิลลิเมตร
|
|
พรรณไม้ :-
สภาพป่าโดยทั่วไปยังเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนหรือป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
ซึ่งมีพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้ตะเคียน มะไฟป่า ยางประดู่ ตะแบก สัก จำปีป่า มะขามป้อม ฯลฯ
ที่สำคัญ
ยังมีพรรณไม้ที่หายากของเมืองไทย อาทิ " เทียนหาง " และ " กุหลาบไฟ "
ซึ่งพบเห็นได้ตามบริเวณดอยผ้าห่มปก
|
|
สัตว์ป่า :-
ด้วยสภาพป่าเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ซึ่งติดต่อกับพื้นที่ของประเทศพม่า จึงทำให้มีสัตว์ป่าต่างๆ ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์
จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง กวาง หมี หมูป่า นางอาย นกเขา รวมทั้งนกปีกแพรสีม่วง ซึ่งมีเฉพาะป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เลียงผา
อันเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งของไทย และผีเสื้อที่ใกล้จะสูญพันธุ์จากเมืองไทยแล้ว คือ ผีเสื้ออิมพิเรียนหรือผีเสื้อไกเซอร์ และมีผีเสื้อสมิงเชียงดาวหรือผีเสื้อภูฐาน
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติแม่ฝางได้จัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปพักแรมค้างคืน
นอกจากนี้ยังมีลานบรรยายกลางแจ้ง ห้องอาบน้ำแร่ ห้องอบไอน้ำ ร้านค้า ร้านอาหาร ไว้บริการ
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก ตู้ ปณ.39 อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
โทรศัพท์ 08-6430-9748, 053-453517-8
หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
1. จากจังหวัดเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107
ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว ถึงอำเภอฝาง - บ้านลาน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แยกขวามาตามถนนหมายเลข 54 บ้านแม่ใจใต้ บ้านโป่งน้ำร้อน
เป็นถนนลูกรังระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงบริเวณบ่อน้ำร้อน เป็นเส้นทางผ่านบ้านสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี รวมห่างจากอำเภอฝางประมาณ 10 กิโลเมตร
เป็นสถานที่เหมาะสมในการจัดตั้งเป็นสำนักงานอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางจากเชียงใหม่ประมาณ 160 กิโลเมตร
2. รถประจำทาง
มีรถประจำทางปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัดและบริษัทรถร่วมเอกชน ระหว่างกรุงทพ - ฝาง, เชียงใหม่ - ฝาง เมื่อถึงอำเภอฝาง
จะมีรถรับจ้างคอยบริการรับส่งสู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ฝางอีกประมาณ 10 กิโลเมตร
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติแม่ฝาง :-
|
|
|