: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ เ ฉ ลิ ม รั ต น โ ก สิ น ท ร์ : : :
|
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์
ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีเนื้อที่ไม่มาก แต่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์และมีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก หน้าผา และถ้ำธารลอด
ที่นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดจากการยุบตัวของหินปูน ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำ ทำให้เขาหินปูนกลายเป็นสะพานธรรมชาติขนาดมหึมา
และมีหลักฐานแสดงถึงประวัติศาสตร์ เป็นทางเดินทัพของพม่าและกองทหารญี่ปุ่น
มีเนื้อที่ประมาณ 59 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,875 ไร่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
กรมป่าไม้ ได้มีหนังสือ ที่ กส 0708/8531
ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ให้ความเห็นชอบในการสำรวจป่าโครงการทำไม้กระยาเลยหนองรี - ห้วยแม่พลูฝั่งซ้าย ( กจ.6 )
เพื่อกำหนดพื้นที่บางส่วนเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้ได้จัดตั้งวนอุทยานถ้ำธารลอดขึ้น ต่อมา กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีหนังสือที่ กส 0808/656
ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ให้วนอุทยานถ้ำธารลอด ( นายช่อ พงษ์รุ่งทรัพย์ หัวหน้าวนอุทยานดถ้ำธารลอด ) ทำการสำรวจป่าถ้ำธารลอดเพื่อยกฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติ
ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นและมีธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ำธารลอดมีลำห้วยไหลผ่านทะลุภูเขา เกิดเป็นถ้ำที่มีเพดานเป็นรูปโดมขนาดใหญ่สวยงาม
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เด่นเป็นพิเศษ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กส 0808 (ถล)/14
ลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2519 ตลอดจนมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นทางเดินทัพของพม่าและกองทัพญี่ปุ่น กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2519 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2519 ให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าหนองรี
ในท้องที่อำเภอเขาโจด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ให้เป็น อุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2523
ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 97 ตอนที่ 20 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 17 ของประเทศไทย
โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติถ้ำธารลอด
ต่อมาคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ได้พิจารณาเห็นว่าในวาระการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ และการที่พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ในอดีตได้ใช้เป็นเส้นทางในการรบพุ่งกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพพม่า
ซึ่งมีหลักฐานปรากฏ เช่น ซากอาวุธโบราณ โครงกระดูกและเครื่องรางของขลังต่างๆ และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เคยประทับในสมัยที่มีการรบทัพจับศึกกับพม่าในเขตจังหวัดกาญจนบุรีอยู่บ่อยครั้ง
จึงได้มีมติเมื่อคราวประชุมครั้งที่ 4/2524 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2524 ว่าสมควรที่จะขอพระราชทาน พระนามาภิไธยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เป็นชื่ออุทยานแห่งชาติแห่งนี้ โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์
และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งนี้สืบไป ซึ่งสำนักเลขาธิการ ได้มีหนังสือ ที่ รล 0002/6924 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
ว่าได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานแห่งชาติถ้ำธารลอดใหม่ว่า
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
ได้ทำพิธีเปิดป้ายอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2525 โดยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
( ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ ) เป็นประธานในพิธี เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 17 ของประเทศไทย
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
ถ้ำธารลอดน้อย
ตัวถ้ำมีความยาวประมาณ 300 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 25
เมตร สูงประมาณ 10 เมตร ภายในถ้ำมี หินงอกหินย้อย
ปรากฏเป็นรูปต่างๆ ยามเมื่อกระทบกับแสงไฟจะส่องประกายระยิบระยับงามจับตามาก ส่วนธารน้ำไหลที่ไหลลอดใต้ถ้ำ ก็ทำให้บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย
จากถ้ำธารลอดน้อยจะมีทางเดินไปถึงถ้ำธารลอดใหญ่ได้
ถ้ำธารลอดใหญ่
จากถ้ำธารลอดน้อยมีทางเดินไปถึงถ้ำธารลอดใหญ่ ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
มีลักษณะ คล้ายสะพานธรรมชาติ มีความสวยงาม นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่าบริเวณนี้เป็นที่ฝังศพของมนุษย์โบราณ
จากการค้นพบโครงกระดูกเป็นจำนวนมาก
น้ำตกไตรตรึงษ์
มีจำนวน 3 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยาน ฯ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
น้ำตกธารเงิน - ธารทอง
มีจำนวน 7 ชั้น มีความสวยงามมาก
ในด้านประวัติศาสตร์
มีหลักฐานที่น่าสนใจ กล่าวคือ สันนิษฐานว่า บริเวณนี้อยู่ในเส้นทางที่กองทัพพม่ายกมาตีกรุงศรีอยุธยา พบซากอาวุธโบราณ โครงกระดูก
เครื่องรางของขลังอยู่กระจายทั่วไป และในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นก็ได้เดินทัพผ่านบริเวณนี้เช่นกัน
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน จุดสูงสุด
คือ ยอดเขากำแพง มีความสูงประมาณ 1,260 เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ของลุ่มน้ำแม่กลอง
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
สภาพภูมิอากาศในพื้นที่แห่งนี้ มีอากาศค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,146 มม./ปี
มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37-38 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน
และมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 17-18 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม
|
|
พรรณไม้ :-
สภาพป่าส่วนใหญ่ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณ บางส่วนเป็นป่าไผ่ สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก
พันธุ์ไม้ที่พบมาก
ได้แก่ ตะเคียน ยาง มะค่าโมง ประดู่ ก่อ และกำยาน เป็นต้น
|
|
สัตว์ป่า :-
สำหรับสัตว์ป่าพบว่ายังมีชุกชุมทั้งชนิดและปริมาณ เนื่องจากมีแหล่งน้ำแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ และพื้นที่ได้รับการคุ้มกันอย่างดี
สัตว์ป่าที่พบเสมอ
ได้แก่ หมีควาย หมีขอ เสือดาว วัวแดง กระทิง กวาง เก้ง ลิง สมเสร็จ และสัตว์จำพวกนกอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่หายากอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า
หมาน้ำ หรือ เขียดว๊าก มีลักษณะคล้ายคางคก มีเสียงร้องคล้ายสุนัขเห่า
จะพบได้ในบริเวณลำห้วยและบริเวณถ้ำธารลอด
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ มีบ้านพักไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ ปท.หนองปรือ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี 71220
โทรศัพท์ 034-547020 (VoIP) , 034-519606
หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถยนต์
โดยรถยนต์จากตัวเมืองออกไปทางถนนสายกาญจนบุรี - เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นระยะทาง 16
กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่ตลาดอำเภอลาดหญ้าไปทางอำเภอบ่อพลอยอีกประมาณ 32 กิโลเมตร ถึงหนองปรือ
และมุ่งสู่ถ้ำธารลอดอีก 18 กิโลเมตร รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 196
กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ :-
|
|
|