|
|
|
: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ภู ก ร ะ ดึ ง : : :
|
- -> ภาพจากนักเดินทางโดย กล้องดิจิตอล รุ่น 350D ของ Canon <- - |
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ประกอบด้วยภูเขาที่มีธรรมชาติอันสวยสดงดงามมาก
ที่ราบบนยอดภูกระดึงมีสังคมพืช บนที่ราบยอดเขาเป็นสังคมของพืชเมืองหนาว ได้แก่ ป่าสนสองใบ, ป่าสนสามใบ, ป่าต้นเมเปิล ( ไฟเดือนห้า )
และพันธ์ไม้ดอกที่สวยงาม เช่น กุหลาบป่า, ม้าวิ่ง, เอื้องหินคำ, ดอกม่วนดักหงาย เป็นต้น ตลอดจนมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ
บรรยากาศและทิวทัศน์ที่สวยงามหลายแห่ง อุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีเนื้อที่ประมาณ 348.12 ตารางกิโลเมตรหรือ 217,576.25 ไร่
|
ภาพโดย คุณคนซุ่ม
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
หลังเวลา 14.00 น. ไม่อนุญาตให้เดินทางขึ้นภูกระดึง
เนื่องจากจะมืดกลางทางซึ่งอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
|
|
ฤดูกาลท่องเที่ยว
... เดือนตุลาคม - พฤษภาคมของทุกปี
... เดือนเมษายน - พฤษภาคม อนุญาตให้เข้าชม ป่าปิด
...
เดือนมิถุนายน - กันยายน อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ปิด เพื่อฟื้นฟูสภาพของป่า
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
ตามตำนานกล่าวว่า
มีพรานผู้หนึ่งตามล่ากระทิงโทนขึ้นไปจนถึงบนยอดภูเขาลูกหนึ่ง ในเขตตำบลศรีฐาน ได้พบพื้นที่บนยอดเขาราบเรียบ
และกว้างใหญ่มากเป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าสน มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเป็นระเบียบ และยังเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า,
ฝูงกระทิง, เก้ง, กวาง ซึ่งหากินอยู่เป็นฝูงๆ ไม่ตระหนกตื่นกลัวนายพราน เนื่องจากไม่เคยเห็นคนมาก่อน นับตั้งแต่นั้นมาภูกระดึงซึ่งธรรมชาติได้ปิดบังซ่อนเร้นมานาน
ก็ถูกเปิดเผยให้มนุษย์รู้จัก
จากการเล่าลือกันมาแต่โบราณว่า
มีผู้ได้ยินเสียงระฆังของพระอินทร์ที่อยู่บนเขานี้ ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า ภูกระดึง หรือภูกะดึง เพราะคำว่า
" ภู " หมายถึง " ภูเขา " และ " กระดึง " มาจาก " กระดิ่ง "
ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยแปลว่า " ระฆังใหญ่ " นอกจากนี้เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาบางส่วน หากเดินหนักๆ
หรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆัง ซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับขนานนามว่า " ภูกระดึง "
ภูกระดึง
เป็นที่รู้จักกันมานาน ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
สมุหเทศาภิบาล ( พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ) ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย
และต่อมาในปี พ.ศ. 2463 นายอำเภอวังสะพุง ซึ่งปกครองท้องที่เขตภูกระดึงในขณะนั้นได้ขึ้นไปสร้างพระพุทธรูปไว้บนยอดเขาภูกระดึงองค์หนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ
และกรมป่าไม้เริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่
จึงได้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502
ให้กำหนดป่าภูกระดึง จังหวัดเลย และป่าอื่นๆ ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า
เป็นอุทยานแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูกระดึงให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามความในมาตรา 6
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงในท้องที่ตำบลศรีฐาน กิ่งอำเภอภูกระดึง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 104 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2505 เนื้อที่ 217,581 ไร่
นับเป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 2 ของประเทศไทย
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2520
อนุมัติหลักการให้ดำเนินการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติในส่วนที่กองทัพอากาศขอใช้ประโยชน์
ตั้งเป็นสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในราชการทหาร เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการขอเพิกถอนที่ดินดังกล่าว
โดยได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติภูกระดึงบางส่วนในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย พ.ศ. 2521
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีเนื้อที่ประมาณ 217,576.25 ไร่
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
ผานกแอ่น
อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 2 กิโลเมตร และห่างจากหลังแป 2.5 กิโลเมตร
ผานกแอ่นเป็นลานหินเล็กๆ มีสนขึ้นโดดเด่นริมหน้าผาต้นหนึ่ง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามยิ่ง อากาศก็สดชื่นเย็นสบาย มองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างเป็นท้องทุ่งและเทือกเขา
เห็นผานกเค้าได้ชัดเจน ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นเป็นสวนหินมีดอกกุหลาบป่าขึ้นอยู่เป็นดงใหญ่ จะบานสะพรั่งเต็มต้นในเดือนมีนาคม - เมษายน
ผาหล่มสัก
อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 9 กิโลเมตร เป็นลานหินกว้างและมีสนต้นหนึ่งขึ้นอยู่ชิดริมผาใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปในอากาศทางทิศใต้
บริเวณผาหล่มสักนี้มองเห็นทิวทัศน์ของเทือกเขาสลับซับซ้อนในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ และเป็นจุดหนึ่งที่จะชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างชัดเจนที่สุด
บรรดาช่างภาพ สื่อมวลชน นิยมไปถ่ายภาพ ณ จุดนี้กันมาก เพราะยามตะวันตกดินจะเกิดทัศนียภาพงดงามที่สุด
สระอโนดาด
เป็นสระน้ำขนาดย่อมที่มีต้นสนขึ้นเป็นแนวเน่นขนัดตามริมสระบริเวณปากธารน้ำไหลมีลานหินโผล่ขึ้นมายามน้ำน้อย
สามารถไปนั่งเล่นได้ จากบริเวณสระอโนดาดยังมีทางเดินไปบรรจบกับเส้นทางสู่ ถ้ำสอ และ
ถ้ำน้ำได้
สระแก้ว
อยู่ในส่วนต้นน้ำของลำธาร "ธารสวรรค์" ลักษณะเป็นวังน้ำลึกขนาดไม่กว้างนัก
น้ำใสมากจนมองเห็นพื้นหินขาวสะอาด ต่อจากบริเวณสระแก้วมีทางเดินชมธรรมชาติผ่านลานหินซึ่งมีดอกหรีด ( สีม่วงอมน้ำเงินเกสรสีเหลือง )
ขึ้นกระจายทั่วไปบริเวณที่โล่งริมน้ำ ไปจนถึงผานาน้อย
น้ำตกเพ็ญพบใหม่
เกิดจากลำธารวังกวาง น้ำตกผ่านผาหินรูปโค้ง ในหน้าหนาว " ใบเมเปิ้ล " จากบริเวณริมน้ำตกจะร่วงหล่นลอยไปตามผิวน้ำ
ยามแดดสาดส่องผ่านลงมาจะเป็นสีแดงจัด ตัดกับสีเขียวขจีของตะไคร่น้ำตามโขดหิน ลำธารวังกวางเป็นต้นกำเนิดน้ำตกที่มีชื่ออีกแห่งหนึ่ง คือ
" น้ำตกโผนพบ " ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ โผน กิ่งเพชร นักชกแชมเปี้ยนโลกคนแรกของชาวไทย ในฐานะเป็นผู้ค้นพบคนแรก
เมื่อคราวที่ขึ้นไปซ้อมมวยให้ชินกับอากาศหนาวก่อนเดินทางไปชกในต่างประเทศ
น้ำตกตาดร้อง
เกิดจากล้ำน้ำพอง ซึ่งไหลลงมาจากภูกระดึงหุบเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือ สองฝั่งของตาดร้องเป็นผาหินสูงชันมาก
เมื่อน้ำตกผ่านผาหินกว้างที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ จึงทำให้เกิดเสียงดังกึกก้อง จากบริเวณน้ำตกมองเห็นแนวภูเขาเปลือยขวางอยู่ข้างหน้า
น้ำตกตาดร้องอยู่ห่างจากที่ทำการ ประมาณ 20 กิโลเมตร
น้ำตกวังกวาง
เป็นน้ำตกที่อยู่ ใกล้กับที่พักมากที่สุด ในบรรดาน้ำตกบนภูกระดึง ระยะทางเพียง 750 ้เมตร
จากจุดเริ่มต้นตรงบริเวณบ้านพัก ลักษณะน้ำตกเป็นผาหินไม่สูงนัก ตัดขวางลำธาร ธารน้ำก็ไหลลดขึ้นลงยังวังน้ำเบื้องล่าง ซึ่งมีลักษณะคล้ายโพรงถ้ำมุดลงไป
และบริเวณป่าใกล้ๆ ก็เป็นที่อยู่อาศัยของ ฝูงกวาง มักจะลงมากินน้ำอยู่เสมอๆ จึงเรียกน้ำตกอย่างน่าเอ็นดูว่า
น้ำตกวังกวาง สูง 7 เมตร บริเวณน้ำตกมีที่กว้างขวางให้ได้นั่งพักสบายๆ
หลายมุม เพราะน้ำตกอยู่ไม่ไกล นักท่องเที่ยวจึงเลือกน้ำตกวังกวาง เป็นห้องอาบน้ำขนาดใหญ่
น้ำตกถ้ำใหญ่
ห่างจากน้ำตกเพ็ญพบใหม่ ประมาณ 1 กิโลเมตร เส้นทางเดินไปสู่น้ำตกจะดูใกล้นิดเดียวสำหรับคนชอบธรรมชาติ
ชมนกชมไม้ เพราะตลอดเส้นทางครอบคลุมไปด้วยป่าดิบเขาที่มีพรรณไม้ใหญ่และร่มครึ้มกว่าทุกเส้นทางน้ำตกอื่นๆ อาจได้พบ ต้นส้มกุ้ง
( Begonice sp. ) ออกดอกเป็นสีชมพู เกสรกลางสีเหลือง ชอบขึ้นตามทางในพื้นที่สูงอย่างป่าดงดิบเขา
ในเส้นทางถ้ำใหญ่นี้มีทางเดินบางช่วงที่เลียบข้างลำห้วยเล็กๆ มี ต้นเมเปิ้ล อยู่เป็นระยะๆ หากช่วง ต้นมกราคม
เส้นทางนี้จะ แดงฉานด้วยใบเมเปิ้ล ที่ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นป่า ความสวยงามของน้ำตกถ้ำใหญ่จะแปลกตาด้วยโขดหินมหึมาวางทับซ้อนไม่เป็นระเบียบ
ลำธารนี้ขนาบข้างด้วย ต้นเมเปิ้ล ยามเมเปิ้ลแดงร่วงหล่น ขัดสีให้ลำธารหินเขียวสวยงามมีสีสันและมีชีวิตชีวาขึ้นมากนัก
เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว
น้ำตกธารสวรรค์
จากน้ำตกถ้ำใหญ่เมื่อออกสู่ป่าสนไม่ไกลนักจะมีทางแยกบนลานหินสู่น้ำตกธารสวรรค์ ซึ่งอยู่ห่างจากที่พักตามเส้นทางป่าสนผ่านลานองค์พระพุทธเมตตาเพียง
1.6 กิโลเมตร เท่านั้น เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
น้ำตกโผนพบ
เป็นหนึ่งในน้ำตกหลายจุดอันเกิดจากสายน้ำวังกวาง ห่างจากตัวน้ำตกเพ็ญพบใหม่เพียง 600
เมตร เท่านั้น ในส่วนของลำธารส่วนบนของน้ำตกโผนพบนี้ สามารถไปยืนชมตัวน้ำตกกลางลำธารซึ่งจะได้ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม น้ำตกมี 8
ชั้น สูงประมาณ 30 เมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงามไม่น้อยบนภูเขานี้
สำหรับชื่อ โผนพบ เข้าใจว่า โผน กิ่งเพชร อดีตแชมป์โลกคนแรกของไทยเป็นผู้ค้นพบ
เมื่อครั้งขึ้นไปซ้อมร่างกายบนภูกระดึง จึงเรียกกันง่ายๆ ว่า " โผนพบ "
น้ำตกพระองค์
คล้ายกับน้ำตกถ้ำใหญ่ แต่เป็นน้ำตกขนาดเล็กกว่า เกิดจากลำธารพระองค์ไหลเป็นลำธารเล็กๆ แล้วดิ่งตกลงหน้าผาที่ไม่สูงนักมุ่งสู่หินเบื้องล่าง
ลำธารพระองค์นี้เป็นลำห้วยเล็กๆ ที่ไหลมาจากสระอโนดาด สระน้ำกลางป่าสนซึ่งไม่เคยเหือดแห้ง จึงมี น้ำไหลตลอดปี
น้ำตกสอเหนือ
เป็นน้ำตกขนาดกลาง สูง 10 เมตร ชั้นเดียว
เกิดจากการพังทลายของแผ่นดินขนาดใหญ่เช่นเดียวกับน้ำตกหลายแห่ง ผาหินคล้ายน้ำตกเพ็ญพบใหม่ มีสายน้ำไหลกลายเป็นบริเวณกว้าง
น้ำตกสอใต้
อยู่ในลำธารสายเดียวกับน้ำตกสอเหนือและอยู่ไม่ไกลกันนัก เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ที่เกิดจากหน้าผาหินถล่มลงไป
สภาพภูมิประเทศไม่ได้อำนวยให้เกิดเป็นชั้นน้ำตกเหมือนแห่งอื่นๆ จึงอยู่นอกเหนือความนิยมของนักท่องเที่ยว
สถานที่เที่ยวอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกถ้ำสอ, น้ำตกผาน้ำผ่า, น้ำตกถ้ำพระ, น้ำตกขุนพอง, ผาหมากดูก, ผาแดง,
ผาเหยียบเมฆ, สวนสีดา, ลานวัดพระแก้ว เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มีทางเดินชมธรรมชาติติดต่อถึงกันหมด ฉะนั้น ผู้ที่จะไปท่องเที่ยวบนภูกระดึงควรใช้เวลาอย่างน้อย
3 วัน เพื่อจะได้เที่ยวชมธรรมชาติที่สวยงามเหล่านั้นได้ทั่วถึง
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึงเป็นภูเขาหินทรายที่มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่สลับกับเนินเตี้ยๆ
ยอดสูงสุด คือ ภูกุ่มข้าว สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,350 เมตร
เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนหนองหวายในจังหวัดขอนแก่น ยอดภูกระดึง
ประกอบไปด้วยป่าสนสลับป่าก่อและทุ่งหญ้า มีพันธ์ไม้ดอก ไม้ใบ ขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณน้ำตก ลำธารและลานหิน ซึ่งธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้อย่างสวยงามยิ่ง
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
อากาศบนยอดภูกระดึง กลางวันจะค่อนข้างร้อน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส
ส่วนกลางคืนโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อากาศจะหนาวเย็นมาก อุณหภูมิติดลบ 2 องศาเซลเซียส ก็เคยปรากฎมาแล้ว
|
|
พรรณไม้ :-
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีหลายชนิด เช่น ป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ, ป่าดงดิบเขา และป่าสนเขา
มีพันธุ์ไม้ต่างๆ ได้แก่ เต็ง, รัง, พลวง, แดง, มะค่า, ยมหอม, มะเกลือ, ตะแบก, สมอ, รกฟ้า, พญาไม้, สนสามพันปี, จำปีป่า, ทะโล้, เมเปิ้ล,
สนสองใบ และสนสามใบ ก่อชนิดต่างๆ
ในทุ่งหญ้ามีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงามออกดอกบานสะพรั่งสลับกันไปในแต่ละฤดูกาล
ได้แก่ กุหลาบป่า, เทียนน้ำ, มณเฑียนทอง, แววมยุรา, กระดุมเงิน, เทียมภู, ส้มแปะ, เง่าน้ำทิพย์, ดาวเรืองภู, หยาดน้ำค้าง
กล้วยไม้
ซึ่งบางชนิดชอบขึ้นตามลานหิน ได้แก่ ม้าวิ่ง, เอื้องคำหิน
ไม้พื้นล่าง
ได้แก่ เฟิร์น, มอส โดยเฉพาะข้าวตอกฤกษ์ ซึ่งเป็นมอสขนาดใหญ่ และสวยงามที่สุดมีอยู่เป็นจำนวนมาก
|
|
สัตว์ป่า :-
ภูกระดึง ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้
ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าในภูกระดึงมีหลายชนิด เช่น ช้าง, เสือโคร่ง, หมีควาย, เลียงผา, เก้ง, กวาง,
หมูป่า, ชะนี, บ่าง, พญา, กระรอก, หมาไม้, หมาใน ส่วนนกชนิดต่างๆ ที่พบเห็นได้แก่ นกกางเขนดง, นกจาบกินอกลาย, นกกระทาทุ่ง,
นกพญาไฟใหญ่, นกขมิ้นดง และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยาก คือ เต่าปูรู หรือ " เต่าหาง "
เป็นเต่าที่หางยาวอยู่ตามธรรมชาติในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย กัมพูชาและลาว
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง มีบ้านพัก ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว และมีเต็นท์ให้เช่า
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง หมู่ 1 ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย 42180
โทรศัพท์ 042-871333 , 042-871458
หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
ค่าใช้จ่าย :-
ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ในการเดินทางไปภูกระดึง
* หมายเหตุ ณ ปัจจุบันราคาอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว *
- ค่ารถปรับอากาศชั้น 1 ราคา 358 บาท จากกรุงเทพฯ ไปลงที่ผานกเค้า
ติดต่อจองตั๋วที่ 02-9360142 บริษัทแอร์เลย
- ค่ารถสองแถวจากผานกเค้า ไปที่ทำการอุทยานภูกระดึง คนละ 25 บาท
( 15 คนรถถึงออก ไม่อยากรอ เหมา 200 บาท/คัน )
- ต้องการพักบ้านพักติดต่อที่ 02-5620760 กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ
( ราคาสอบถามเอาเองครับ )
- ถ้าต้องการนอนเต็นท์ ติดต่อที่ 042-871333 อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
- นำเต็นท์ไปเอง 30 บาท/คน/คืน
- เช่าเต็นท์ 250 บาท/คืน ( นอนได้ 3 คน มีเครื่องนอนครบ )
- เช่าเต็นท์ 500 บาท/คืน ( นอนได้ 5 คน มีเครื่องนอนครบ )
- ถุงนอน 50 บาท/คืน
- เสื่อผืนละ 10 บาท/คืน
- หมอนใบละ 5 บาท/คืน
- ผ้าห่มอย่างบาง 10 บาท/คืน
- ผ้าห่มอย่างหนา 20 บาท/คืน
- ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยาน 40 บาท/คน
- ค่าลูกหาบ คิดกิโลกรัมละ 15 บาท
- ค่าอาหารบนภูกระดึง
- ข้าวเริ่มต้นที่จานละ 35 บาท
- น้ำดื่มขวดละ 15 บาท ( ขวดขุ่น )
- น้ำแข็งเปล่าแก้วละ 5 บาท
- น้ำอัดลมขวดเล็ก ขวดละ 25 บาท
- กาแฟร้อน โอวัลตินร้อน ไมโลร้อน แก้วละ 15 บาท
- ไข่ไก่ปิ้ง ฟองละ 7 บาท
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติภูกระดึง สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถไฟ
..... จากกรุงเทพฯ โดยสารรถไฟไปลงที่ขอนแก่น แล้วโดยสารรถสองแถว
หรือรถประจำทางต่อไปถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูกระดึงโดยตรง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ปีนเขา ขึ้นสู่ยอดภูอีก 5 กิโลเมตร
จะถึง " หลังแป " แล้วเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 3.8 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึง
ทางประจำทาง
..... จากสถานีขนส่งสายเหนือ นั่งรถสาย กรุงเทพฯ - เลย ไปลงที่ผานกเค้า ( จากกรุงเทพถึงผานกเค้า ประมาณ 8 ชั่วโมง )
จากนั้นต่อรถสองแถวอีก 15 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ปีนเขา
ขึ้นสู่ยอดภู เดินเท้าประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึง " หลังแป "
( จากตีนภูถึงหลังแป ใช้เวลา 4 - 8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและการเดินของท่าน ถ้าพักมากใช้เวลามาก
พักน้อยใช้เวลาน้อย ) จากหลังแปเดินเท้าไปตามทุ่งหญ้าอีก 3.8 กิโลเมตร ก็จะถึงที่พักบนยอดภูกระดึง
...สอบถามเส้นทางได้จาก 08-1629-3354...โจ ( เจ้าของเว็บหามานานดอทคอม )
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติภูกระดึง :-
ภาพขยายศูนย์บริการนักท่องเที่ยววังกวาง
( หลังแป )
|
|
|
: : : ข่ า ว ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ : : :
|
มีข่าวอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้บอกเราได้เลย เราจะนำมาลงให้นะครับ ขอบคุณที่ส่งข่าว
|
|
ฝากข่าว
|
: : : โ ฆ ษ ณ า สิ น ค้ า แ ล ะ บ ริ ก า ร : : :
|
โฆษณาตรงนี้จะปรากฎทั้ง 76 จังหวัดภายในเว็บแห่งนี้
|
|
ติดต่อโฆษณาคลิกที่นี่
|
: : : อ ะ ไ ร ดี ๆ จ า ก บ อ ร์ ด ท่ อ ง เ ที่ ย ว : : :
|
เก็บอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้จากบอร์ดหามานท่องเที่ยวมาฝากครับ...
|
|
ตั้งกระทู้ใหม่
|
- : - - - - - - - :- - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - :- - - - - - - : - - - - - - - : -
|
-:-เลือกจังหวัดที่ต้องการ-:- |
|
- - - - - - - - - - - - - - - -
|
|
|