|
|||
|
|||
พระราชวังสนามจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม |
|
|
|
การเดินทาง :- จาก กรุงเทพฯ - พระราชวังสนามจันทร์ ระยะทางประมาณ 59 กิโลเมตร จาก กรุงเทพฯ ใช้ ถนนเพชรเกษม ( ทางหลวงหมายเลข 4 ) มุ่งหน้าสู่ จังหวัดนครปฐม จาก กรุงเทพฯ ใช้ ถนนบรมราชชนนี หรือ ชื่อเก่า คือ ถนนปิ่นเกล้า - นครชัยศรี ( ทางหลวงหมายเลข 338 ) มุ่งหน้าสู่ จังหวัดนครปฐม ทั้งสองเส้นทางด้านบนจะต้องผ่าน หลักกิโลเมตรที่ 43 ถนนเพชรเกษม ดูภาพด้านล่างนะครับ
อธิบายกันตรงนี้ก่อน เพื่อความเข้าใจ เลย ป้ายบอกเส้นทาง ไปนิดเดียว ทางด้านขวามือ คือ ห้างเทสโก้ โลตัส สาขานครชัยศรี จาก หลักกิโลเมตรที่ 43 ถนนเพชรเกษม ให้ท่าน ขับตรงไป ประมาณ 800 เมตร ( หลักกิโลเมตรที่ 43 + 800 ถนนเพชรเกษม ) ก็จะถึง ร้านเป็ดพะโล้เจียมจันทร์ ซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายมือ ดูภาพด้านล่างนะครับ
จำหน่ายอาหารตามสั่ง จำหน่ายเป็ดพะโล้ จำหน่ายผัดไทยกุ้งสด เวลาเปิด 8.00 - 17.00 น. หยุดทุกวันอังคาร หลักกิโลเมตรที่ 43+800 ถนนเพชรเกษม 63/9 ถ.เพชรเกษม ต.ท่าตำหนัก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม อาหารแนะนำ 1.เป็ดพะโล้ 2.แกงส้มปลาช่อนทอด 3.ผัดไทยกุ้งสด 4.ต้มยำปลาช่อน 5.ฮ้อยจ๊อปู 6.กระเพราเป็ด 7.เป็ดกระเทียมพริกไท 8.ก๋วยเตี๋ยวเป็ด ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 089-1536885 จาก ร้านเป็ดพะโล้เจียมจันทร์ ให้ท่าน ขับตรงไป ประมาณ 8.8 กิโลเมตร ( หลักกิโลเมตรที่ 52 + 600 ถนนเพชรเกษม ) ก็จะถึง ป้ายบอกเส้นทาง ดูภาพด้านล่างนะครับ
จาก ป้ายบอกเส้นทาง ให้ท่าน ขับเลนซ้ายสุด ประมาณ 200 เมตร ก็จะถึง สะพาน..ไปจังหวัดนครปฐม ซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายมือ เมื่อถึง สะพาน..ไปจังหวัดนครปฐม ให้ท่าน ขับขึ้น สะพาน..ไปจังหวัดนครปฐม หลังลง สะพาน..ไปจังหวัดนครปฐม เรียบร้อยแล้ว จากนั้น ขับตรงไป ประมาณ 3.3 กิโลเมตร ก็จะถึง 4 แยกไฟแดง ดูภาพด้านล่างนะครับ
( ถ้า เลี้ยวขวา จะไป ตลาดนครปฐม ) ( ถ้า ตรงไป จะไป พระปฐมเจดีย์ ) ให้ท่าน เลี้ยวซ้าย ไป พระราชวังสนามจันทร์ จากนั้น ขับตรงไป ประมาณ 200 เมตร ก็จะถึง ทางแยก จากนั้น เลี้ยวขวา จากนั้น ขับตรงไป ประมาณ 1.9 กิโลเมตร ก็จะถึง แยกไฟแดง จากนั้น เลี้ยวขวา จากนั้น ขับตรงไป ประมาณ 400 เมตร ก็จะถึง พระราชวังสนามจันทร์
เป็นพระตำหนักที่มีลักษณะคล้ายปราสาทขนาดย่อม ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ เรอเนซองส์ ( Renaissance ) ของฝรั่งเศส กับอาคารแบบ ฮาล์ฟทิมเบอร์ ( Half Timbered ) ของอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ขึ้นราวปีพุทธศักราช 2450 โดยมี หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ ในปีพุทธศักราช 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2460 พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น ทาสีขี้ไก่ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดง ชั้นบนมีห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทม และห้องสรง ชั้นล่างทางทิศตะวันตกเป็นห้องรอเฝ้าฯ และเคยใช้เป็นสำนักงานชั่วคราวในการออกหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายสัปดาห์ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงใช้เป็นที่ประทับในฐานะที่ทรงเป็นผู้บัญชาการเสือป่า เมื่อมีการซ้อมรบเสือป่า ณ พระราชวังสนามจันทร์ และพระองค์โปรดที่จะประทับ ตลอดช่วงปลายรัชกาล เมื่อเสด็จฯ ยังพระราชวังสนามจันทร์
เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ นีโอคลาสสิก ของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพานจากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้อง และติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้านตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ ในราวปีพุทธศักราช 2459 โดยมี หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบ พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ และฉนวนสะพานเชื่อมพระตำหนัก เป็นกลุ่มอาคารที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยแรงบันดาลพระราชหฤทัยจาก บทละครเรื่อง My Friend Jarlet ของ Arnold Golsworthy และ E.B. Norman ซึ่งทรงแปลบทละครเรื่องนี้เป็นภาษาไทยชื่อว่า มิตรแท้ โดยทรงนำชื่อตัวละครในเรื่องมาเป็นชื่อของพระตำหนัก
ย่าเหล เป็นสุนัขพันธุ์ทางหางเป็นพวง สีขาวด่างดำ หูตก เกิดในเรือนจำจังหวัดนครปฐม เป็นสุนัขของ หลวงชัยอาญา ( โพธิ์ เคหะนันท์ ) ซึ่งเป็นพะทำมะรง ( ผู้ควบคุมนักโทษ ) อยู่ในขณะนั้น ( ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพุทธเกษตรานุรักษ์ ) เมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ตรวจเรือนจำ ทอดพระเนตร ย่าเหล ซึ่งเป็นลูกสุนัข ก็ตรัสชมว่าน่าเอ็นดู ต่อมาหลวงชัยอาญา จึงน้อมเกล้าฯ ถวาย จึงทรงรับมาเลี้ยงและพระราชทานนามว่า ย่าเหล ย่าเหล ได้รับการเลี้ยงดูอยู่ในราชสำนักใกล้ชิดพระยุคลบาท มีความเฉลียวฉลาด และมีความจงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่โปรดปรานของพระองค์เป็นอย่างมาก คืนหนึ่ง ย่าเหล ได้หนีออกมาเที่ยวตามวิสัยสัตว์ และได้กัดกับสุนัขอื่นในบริเวณกรมทหาร มหาดเล็กรักษาพระองค์ ( ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมการรักษาดินแดน ) และพลัดถูกลูกกระสุน ซึ่งทหารผู้หนึ่งได้ยิงปืนออกมา เมื่อได้ยินเสียงสุนัขกัดกัน และไม่ทราบว่ากระสุนได้พลัดไปถูกย่าเหล การสูญเสีย ย่าเหล สุนัขที่โปรดปรานในครั้งนี้ ทำให้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เศร้าสลดพระทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานศพ ย่าเหล เป็นอย่างดี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง อนุสาวรีย์ย่าเหล ขึ้นด้วยโลหะทองแดง ณ บริเวณด้านหน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ และทรงพระราชนิพนธ์คำไว้อาลัย ซึ่งออกมาจากความรู้สึกส่วนลึกของพระราชหฤทัยของพระองค์ จารึกไว้บนแผ่นทองแดงใต้อนุสาวรีย์แห่งนี้ด้วย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นศาลเทพารักษ์สำหรับพระราชวังสนามจันทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระคเณศร์ หรือพระพิฆเนศวร เทพเจ้าผู้มีเศียรเป็นช้าง ซึ่งเป็นเจ้าแห่งศิลปวิทยาการ การประพันธ์และเป็นผู้ขจัดอุปสรรคทั้งมวล เทวาลัยคเณศร์ ตั้งอยู่ที่สนามหญ้าหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดศิลปวิทยาการ และการประพันธ์เป็นพิเศษ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยคเณศร์ไว้ ณ ที่อันเป็นศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับบวงสรวง และเพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งพระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อมองจาก พระที่นั่งพิมานปฐมจะเห็นพระปฐมเจดีย์ เทวาลัยคเณศร์และพระที่นั่งพิมานปฐมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
เป็นพระที่นั่งที่เชื่อมต่ออยู่กับพระที่นั่งวัชรีรมยา โดยมีโถงใหญ่และหลังคาของพระที่นั่งทั้งสององค์เชื่อมติดต่อกัน เครื่องประดับตกแต่งหลังคาเหมือนกัน แต่องค์พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เป็นพระที่นั่งทรงไทยแบบศาลาโถงองค์ใหญ่ชั้นเดียว หน้าบันอยู่ทางทิศเหนือเป็นรูปจำหลักท้าวอมรินทราธิราชประทานพร ประทับอยู่ในพิมานปราสาทสามยอด พระหัตถ์ขวาทรงวชิระ พระหัตถ์ซ้ายประทานพร แวดล้อมด้วยบริวาร ประกอบด้วยเทวดาและมนุษย์ห้าหมู่ พระที่นั่งองค์นี้ทรงใช้เป็นที่ออกงานสโมสรสันนิบาต เสด็จฯ ออกขุนนางเพื่อปรึกษาหารือข้อราชการ เป็นที่อบรมกองเสือป่า และใช้เป็นที่แสดงโขนละครต่างๆ พระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์เป็นพระที่นั่งที่กว้างขวาง จุคนได้มากจึงมีชื่อเรียกติดปากชาวบ้านว่า โรงโขน เดิมเคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระมหาเศวตฉัตรมาประดิษฐานไว้ภายใน
เป็นเรือนไทยที่สมบูรณ์แบบ นายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคือ พระยาวิศุกรรมศิลป์ประสิทธิ์ ( น้อย ศิลปี ) พระตำหนักทับขวัญ ประกอบด้วย กลุ่มเรือน 8 หลัง ได้แก่ เรือนใหญ่ 4 หลัง เรือนเล็ก 4 หลัง ซึ่งได้สร้างให้หันหน้าเข้าหากัน 4 ทิศ เรือนหลังใหญ่เป็นหอนอน 2 หอ ( ห้องบรรทมเป็นหอนอนที่อยู่ทางทิศใต้ ) อีก 2 หลังเป็นเรือนโถง และเรือนครัวซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน ส่วนเรือนเล็ก 4 หลังนั้นตั้งอยู่ตรงมุม 4 มุมและ 1 หลัง ได้แก่ หอนก 2 หลัง เรือนคนใช้ และเรือนเก็บของ เรือนทุกหลังมีชานเรือนเชื่อมกันโดยตลอด บริเวณกลางชานเรือนปลูกต้นจันไว้ให้ร่มเงา พระตำหนักทับขวัญ เป็นเรือนไม้กระดาน ฝาเรือนทำเป็นฝาปะกนกรอบลูกฟัก ฝีมือประณีต เชิงชายและไม้ค้ำยันสลักเสลาสวยงาม หลังคาแต่เดิมมุงด้วยจาก หลบหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ตัวเรือนทุกหลังรวมทั้งพื้นนอกชานทำด้วยไม้สักล้วน ใช้วิธีเข้าไม้ตามแบบฉบับของชาวไทยโบราณ รอบๆ บริเวณปลูกไม้ไทยชนิดต่างๆ นับเป็นเรือนที่อยู่ในประเภทเรือนคหบดีและมีส่วนประกอบครบ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาศิลปะบ้านไทยแบบโบราณ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนักใหม่ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2454 พระองค์ได้ประทับแรม ณ พระตำหนักทับขวัญนี้เป็นเวลา 1 คืน และเมื่อมีการซ้อมรบเสือป่า พระตำหนักองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการเสือป่าราบหนักรักษาพระองค์
พระที่นั่งพิมานปฐม พระราชวังสนามจันทร์ เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2450 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น แบบตะวันตก แต่ดัดแปลงให้เหมาะกับเมืองร้อน ช่องระบายลมและระเบียงลูกกรงโดยรอบฉลุ สลัก เป็นลวดลายตามแบบไทยอย่างปราณีตงดงาม พระที่นั่งชั้นบนประกอบด้วยห้องต่างๆ ซึ่งยังมีป้ายชื่อ ปรากฎอยู่จวบจนปัจจุบัน คือ ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องบรรณาคม ห้องภูษา ห้องเสวย และห้องพระเจ้า ซึ่งเป็นหอพระ มีพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอยู่องค์หนึ่ง และยังมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังฝีมือ พระยาอนุศาสน์จิตรกร ( จันทร์ จิตรกร ) ซึ่งงดงามน่าชมมาก พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับ ( โดยเฉพาะก่อนเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชย์สมบัติ จนถึงปีพุทธศักราช 2458 ) ที่ทรงพระอักษร ที่เสด็จออกขุนนาง ที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าฯ มากกว่าพระที่นั่ง และพระตำหนักองค์อื่นๆ
ลิงค์ที่น่าสนใจ :-
|
|
|
Copyright © 2002 All right reserved. webmaster@hamanan.com |
หน้าแรก > ท่องเที่ยว > จังหวัดนครปฐม > บันทึกเรื่องเที่ยว > พระราชวังสนามจันทร์ |