: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ภู ลั ง ก า : : :
|
- - - - > แลกเปลี่ยนประสบการณ์ < - - - -
|
อุทยานแห่งชาติภูลังกา
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม และอำเภอเซกา
จังหวัดหนองคาย
มีเนื้อที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร หรือ 31,250 ไร่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ฤดูกาลท่องเที่ยว
... ตั้งแต่เดือนมีนาคม - ตุลาคม
|
|
อาณาเขต :-
ทิศเหนือ :-
จดห้วยทรายและห้วยซ่าน ท้องที่ตำบลดงบัง ตำบลโพธิหมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย
ทิศใต้ :-
จดทางเกวียน ที่ทำกินราษฎร ท้องที่ตำบลโพนทอง ตำบลหนองซน อำเภอบ้านแพง อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันออก :-
จดที่ทำกินราษฎร ท้องที่ตำบลนางัว ตำบลไผ่ล้อม อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
ทิศตะวันตก :-
จดที่ทำกินราษฎร ท้องที่ตำบลโพธิหมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย
|
Top |
ประวัติความเป็นมา :-
ด้วยนายไมตรี อนุกูลเรืองกิตติ เจ้าพนักงานป่าไม้ กองอุทยานแห่งชาติ
ได้บันทึกเสนอผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2527 พร้อมส่งรายงานการสำรวจพื้นที่บริเวณป่าภูลังกา ท้องที่อำเภอบ้านแพง
จังหวัดนครพนม ตามคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 55/2527 ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2527 ที่ให้ออกไปสำรวจจัดตั้งเป็นวนอุทยาน
โดย นายไมตรี อนุกูลเรืองกิตติ ได้รายงานเสนอความเห็นว่ามีสภาพที่เหมาะสม สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน
ฝ่ายจัดการวนอุทยานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เนื่องจากบริเวณป่าภูลังกาที่ทำการสำรวจมีพื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร หรือ
31,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
และอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบเขา ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าแดง ที่สมบูรณ์
มีสัตว์ป่าชุกชุม เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลายสาย และมีจุดเด่นทางธรรมชาติ เช่น หน้าผา ถ้ำ น้ำตก อยู่หลายแห่ง ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
ทั้งเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ไว้ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ จึงเห็นสมควรจัดตั้งบริเวณป่าภูลังกา ท้องที่อำเภอบ้านแพง
จังหวัดนครพนม และอำเภอน้ำยืน จังหวัดหนองคาย
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และเห็นสมควรพิจารณาจัดหาเจ้าหน้าที่ออกไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ เพื่อดำเนินการให้มีประสิทธิภาพต่อไป
กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 642/2539
เรื่องให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการ ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2539 ให้ นายวัชรินทร์ ปิยะสุทธิ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ไปทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูลังกา และสำรวจเพิ่มเติมเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติภูลังกา เพื่อกำหนดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติตามนัยมาตรา 6
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูลังกา ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
พื้นที่ประมาณ 44,031 ไร่ แต่ได้ถูกบุกรุกไปแล้วในพื้นที่งานคงเหลือพื้นที่โดยประมาณ
31,250 ไร่ หรือ 50 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่าหลายชนิด มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและยังมีความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
กรมป่าไม้พิจารณาแล้ว
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามเพื่อรักษาสมดุลทางธรรมชาติของระบบนิเวศของพื้นที่ดังกล่าวให้คงไว้ในรูปของอุทยานแห่งชาติ
เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชนสืบไป จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็น อุทยานแห่งชาติตามนัยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
น้ำตกตาดขาม
เป็นน้ำตกที่ไม่สูงนัก และบริเวณใกล้ๆ มีลานหินเล็กๆ สำหรับพักผ่อน มีน้ำตกไหลเป็นชั้นๆ จำนวน 4
ชั้น เฉพาะชั้นสุดท้ายจะมีแอ่งน้ำขังตลอดปี น้ำตกตาดขามเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวจังหวัดใกล้เคียง เช่น หนองคาย สกลนคร อุดรธานี ฯลฯ มีประชาชนเดินทางมาเที่ยวชมทุกๆ
วัน วันละประมาณ 100 คน โดยเฉลี่ย และวันหยุดต่างๆ จะมีไม่น้อยกว่า 400 - 500 คน
น้ำตกตาดโพธิ์
มีน้ำตกไหลเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นสูงไม่น้อยกว่า 10 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่ 2
มีความสูงถึง 30 เมตร ซึ่งในฤดูฝนสามารถมองเห็นได้จากถนนสายนครพนม - หนองคาย โดยเห็นได้ชัดเจนและมีความสวยงาม
ถ้ำต่างๆ
ถ้ำที่สวยงามใหญ่และน่าสนใจ ได้แก่ ถ้ำยา ถ้ำพ่อหง่า ถ้ำตาทัด ถ้ำเกีย และถ้ำอาจารย์วัง
หน้าผา
ภูลังกาเป็นภูเขาที่อยู่โดดเดี่ยว มีหน้าผาที่สวยงามสองด้านคือ ด้านภูลังกาใต้และภูลังกาเหนือ ด้านบนภูลังกามีลานหินกว้างอยู่หลายแห่ง สวยงาม
หิน บนภูลังกา
มีหินที่มีลักษณะน่าสนใจอยู่หลายแห่ง เช่น กองข้าวสีบุญเนา
เป็นหินที่มีลักษณะคล้ายกองข้าว และมีร่องรอยดูคล้ายทางเกวียนอยู่ใกล้เคียงกัน อีกแห่งหนึ่งคือ โคกตะละปัด
ซึ่งมีลานหินกว้างๆ สวยงาม มีรูปรอยการแกะสลักหิน ก้อนหินที่ถูกแกะมีรูปร่างเหมือนตะละปัด
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
มีลักษณะเป็นภูเขาทับซ้อนกัน 3 ลูก ทอดยาวตามแนวทิศเหนือกับทิศใต้และสลับด้วยเทือกเขาขนาดเล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกัน
พร้อมทั้งทอดยาวตามลำน้ำโขง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลที่จุดสูงสุดประมาณ 563 เมตร
เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลายสายที่เกื้อกูลผลประโยชน์ให้ราษฎรในพื้นที่รอบๆ เขตอุทยานแห่งชาติภูลังกา ได้ทำการเกษตรกรรมและไหลลงสู่แม่น้ำโขง
ที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
ในพื้นที่สภาพภูมิอากาศโดยทั่วๆ ไปแล้วจะมีสภาพอากาศใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนสภาพอากาศบนยอดเขาจะมีลักษณะเป็นหิน ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวจัด ประมาณ 0 - 5 องศาเซลเซียส
โดยอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25 - 36 องศาเซลเซียส ฤดูฝนมีปริมาณน้ำฝนมากประมาณ
1,860 มิลลิเมตรต่อปี
|
|
ลักษณะทางธรณีวิทยา :-
สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหินทราย โดยแบ่งชั้นหินที่สำคัญออกเป็น 3 หมวด คือ
1. หมวดหินโคราช
2. หมวดหินภูพาน
3. หมวดหินภูกระดึง
ดิน
.... ลักษณะดินจะเป็นดินทราย มีการพังทลายปานกลาง
แหล่งน้ำ
.... ภูลังกาเป็นต้นกำเนิดของห้วยต่างๆ หลายสาย เช่น ห้วยทรายเหนือ ห้วยซ่าม ห้วยยางนกเหาะ ห้วยขาม และห้วยทรายใต้
ซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับราษฎรในที่ราบที่อยู่ใกล้เคียงในการทำการเกษตรกรรม
|
|
พรรณไม้ :-
ประกอบด้วยดอกไม้ป่า และดอกไม้ป่าที่มีอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะกล้วยไม้ป่า รองเท้าแตะนารี เคยมีการกว้านซื้อเพื่อนำส่งนอกประเทศมาแล้วจนเกือบจะสูญพันธุ์
เท่าที่พบในปัจจุบันส่วนมากจะเป็นกล้วยไม้ตระกูลหวายและแดงอุบล นอกจากนั้นภูลังกายังเป็นแหล่งสมุนไพรต่างๆ และว่านนานาชนิด
|
|
สัตว์ป่า :-
เท่าที่พบและได้ข้อมูลจากชาวบ้าน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
( Mammals )
เช่น หมูป่า ลิง อีเห็น เก้ง อยู่เป็นจำนวนมาก
นก
( Avian Fauna )
พบนกต่างๆ หลายชนิด
สัตว์เลื้อยคลาน
( Reptiles )
ได้แก่ กระท่าง และงูอีกหลายๆ ชนิด
นอกจากนี้ยังพบ
กระรอก กระแต บ่าง
|
|
สถานที่พักแรม :-
สอบถามข้อมูลจากเบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนะครับ
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
งานบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-5734, 0-2579-7223 ต่อ 724 หรือ 725
หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา ตำบลนางัว อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม 48140
หรือที่เว็บไวต์ http://www.forest.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติภูลังกา สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถยนต์
..... ภูลังกาตั้งขนานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212
นครพนม - บ้านแพง - หนองคาน ประมาณ 105 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดหนองคาย
220 กิโลเมตร ห่างจากตัวอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ประมาณ 6 กิโลเมตร
การเดินทางไปภูลังกาสะดวกสะบายทุกฤดูกาล
..... จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทาง กรุงเทพ - อุดร - พังโคน - วานรนิวาส - เซกา - บ้านแพง
..... จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทาง กรุงเทพ - สกลนคร - นครพนม - บ้านแพง
..... ฤดูกาลท่องเที่ยว ตั้งแต่เดือนมีนาคม - ตุลาคม
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติภูลังกา :-
|
|
|