: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ภู เ ก้ า - ภู พ า น คำ : : :
|
- - - - > แลกเปลี่ยนประสบการณ์ < - - - -
|
อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ
เป็นพื้นที่ในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตั้งอยู่ในบริเวณตอนล่างของ จังหวัดหนองบัวลำภู
และตอนบนของ จังหวัดขอนแก่น สภาพธรณีเป็นภูเขาหินทราย ซึ่งมีชั้นของหินทรายอยู่ด้านบนระดับผิวดิน
โดยมีชั้นของหินดินดาน หรือหินดินดานปนทรายเป็นฐานด้านล่าง มีดินประเภทดินลูกรังและดินร่วนปนทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่า
ทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ และสภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง
มีเนื้อที่ประมาณ 322 ตารางกิโลเมตร หรือ 201,250 ไร่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
แต่เดิม กรมป่าไม้ ได้พิจารณากำหนดให้ป่าภูเก้าเป็นป่าโครงการไม้กระยาเลย
เพื่อใช้สอยตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0703/38 ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2513 ซึ่งต่อมาป่าภูเก้าแห่งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศให้เป็น
ป่าสงวนแห่งชาติ " ป่าภูเก้า " ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 490 ( พ.ศ. 2515 ) ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2515
และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 นายสุพรรณ สุปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี ได้มีหนังสือกราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
ให้พิจารณาจัดป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ท้องที่จังหวัดอุดรธานี เป็นอุทยานแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จึงมีหนังสือที่ สร 0107(งสส.)/3782
ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งรองอธิบดีกรมป่าไม้ ( นายจำนงค์ โพธิสาโร ) ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้
มีบันทึกท้ายหนังสือกองอุทยานแห่งชาติ ที่ กส 0708/1198 ลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2524 ให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งที่
571/2524 ให้นายวินัย ชลารักษ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น จากการสำรวจพบว่าป่าสงวนแห่งชาติภูเก้า ประกอบด้วย พันธุ์ไม้ สัตว์ป่า
จุดเด่นมีทิวทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติหลายแห่ง เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานการสำรวจเบื้องต้น ที่ กส.0708(ภพ)/257
ลงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 และทางสภาตำบลโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้มีหนังสือ ลงวันที่
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 สนับสนุนให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอกรรมการอุทยานแห่งชาติ
มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2526 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติได้
ต่อมา อุทยานแห่งชาติภูเก้า
( นายพิชา พิทยขจรวุฒิ ) ได้มีหนังสือที่ กษ. 0713(ภก)/8 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 ขอผนวกพื้นที่เทือกเขาภูพานคำ บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขื่อนอุบลรัตน์
ซึ่งมีสภาพป่าเต็งรังค่อนข้างสมบูรณ์และมีทิวทัศน์รอบอ่างเก็บน้ำสวยงาม เข้าเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์สมบูรณ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งได้มีการดำเนินการประกาศพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูเก้า ในท้องที่ตำบลหัวนา ตำบลนามะเฟือง
อำเภอหนองบัวลำภู ตำบลบ้านถิ่น ตำบลโคกม่วง ตำบลนิคมพัฒนา ตำบลโนนเมือง ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
และที่ดินป่าภูพาน ในท้องที่ตำบลกุดคู่ ตำบลโนนสัง ตำบลบ้านค้อ ตำบลหนองเรือ ตำบลโคกใหญ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
และป่าโคกสูง ป่าบ้านดง ในท้องที่ตำบลศรีสุขสำราญ ตำบลนาคำ ตำบลบ้านดง ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ และตำบลหว้าทอง ตำบลทุ่งชมพู ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง
จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2528 ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 130
ลงวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 50
ของประเทศไทย
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
ทิวทัศน์ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์และเกาะแก่งต่างๆ
เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวทางน้ำและพักแรม นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเที่ยว หมู่บ้านประมง
อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู และซื้อขายปลาได้ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
หลักฐานและร่องรอยของมนุษย์ยุคหิน
สันนิษฐานว่าร่องรอยที่ค้นพบมีอายุประมาณไม่ต่ำกว่า 3,500 ปี
ในยุคบ้านเชียง ซึ่งสังคมมนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหาร ปรากฎ
ภาพเขียนสีและภาพสลัก บนผนังภายในถ้ำ เช่น ถ้ำเสือตก ถ้ำพลาไฮ ถ้ำเจ๊ก เป็นต้น
หามต่าง หรือหามตั้ง
เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติเช่นเดียวกับเสาเฉลียง ที่ผาแต้ม คือ เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ สายลม และแสงแดด
มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกัน มองดูคล้ายดอกเห็ด
น้ำตกตาดฟ้า, น้ำตกหินแตก
ตั้งอยู่ฝั่งภูเก้า เป็นน้ำตกที่สวยงามทั้งสองแห่ง จะมีน้ำมากเฉพาะฤดูฝน
นอกจากนี้
ยังมีจุดเด่นที่สวยงามหลายแห่ง เช่น หอสวรรค์ หินปราสาท และจุดชมวิวที่ภูขอบด้านใต้ บริเวณวัดพระพุทธภูเก้า
ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
ภูเก้า มีสันฐานคล้ายกะทะหงาย โดยมีที่ราบอยู่ตอนกลาง พื้นที่เช่นนี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า
พื้นที่ส่วนนี้น่าจะเป็นซากภูเขาไฟโบราณที่ดับสนิทไปแล้วหลายร้อยล้านปี หรือมิฉะนั้นก็เป็นการโก่งตัวของเปลือกโลกในบริเวณนี้ขึ้นมาเป็นขอบเทือกเขา
เทือกเขาภูเก้าเป็นเทือกเขาสองชั้น ชั้นนอกเป็นภูเขาสูงและมีความลาดชันมาก ไหล่เขาด้านในมีความลาดชันไม่มากนัก พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ บางแห่งเป็นที่ราบ
ภูพานคำ เป็นแนวทิวเขายาวในเทือกเขาภูพาน เรียงตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ -
ตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเทือกเขาเป็นแอ่งที่ราบต่ำลุ่มน้ำพอง ซึ่งเป็นหุบเขาขนาดใหญ่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็น
ทะเลสาบ ซึ่งเป็นพื้นที่อุทยานฯ มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของส่วนภูพานคำ สภาพป่าเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ
ซึ่งขึ้นอยู่ในพื้นดินปนหิน
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยจะร้อนจัดในเดือนเมษายน
ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากร่องความกดอากาศสูงทางตอนใต้ของประเทศจีน
|
|
พรรณไม้ :-
แบ่งออกเป็น
ป่าเต็งรัง
สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าเต็งรัง มีไม้ขึ้นอยู่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นไหล่เขาและสันเขา
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง พะยอม กระโดน
ไม้พื้นล่าง
ประกอบด้วย ปรงป่า หญ้าเพ็ก เป้ง เถาวัลย์ และไม้หนามหลายชนิด
ป่าเบญจพรรณ
Dry Mixed Decidous Forest
เป็นป่าที่อยู่ในบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งห้วยหุบเขา และไหล่เขาบางส่วน
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ ประดู่ มะค่าแต้ กระบก ตะคร้อ ตีนนก
ไม้พื้นล่าง
ประกอบด้วย ไม้ไผ่
ป่าดงดิบ
มีอยู่เฉพาะบริเวณริมฝั่งห้วยเท่านั้น
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ ตะแบก ยาง ตะเคียนหิน มะค่าโมง กระบก และชิงชัน
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
งานบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-5734, 0-2579-7223 ต่อ 724 หรือ 725
หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ ตู้ ปณ. อุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 40250
หรือที่เว็บไวต์ http://www.forest.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถยนต์
..... จากจังหวัดอุดรธานี ใช้เส้นทางสายอุดรธานี - โนนสัง ระยะทาง 86 กิโลเมตร
แยกเข้าสู่ภูเก้า ที่บ้านกุดคู่ อีก 17 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากเขื่อนอุบลรัตน์
6 กิโลเมตร
..... จากจังหวัดขอนแก่น ใช้เส้นทางสายขอนแก่น - อุบลรัตน์ ระยะทาง 50 กิโลเมตร
ต่อจากเขื่อนอุบลรัตน์ไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ
6 กิโลเมตร
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติภูเก้า - ภูพานคำ :-
|
|
|