: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ กุ ย บุ รี : : :
|
- - - - > แลกเปลี่ยนประสบการณ์ < - - - -
|
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ ตำบลเขาจ้าง อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศิลาลอย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด
อำเภอปราณบุรี ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี และตำบลบ่อนนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญและมีค่า เช่น
พันธ์ไม้ของป่า สัตว์ป่า ตลอดจนทิวทัศน์ที่สวยงาม เพื่อให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและรื่นรมย์ของประชาชน
มีเนื้อที่ประมาณ 969 ตารางกิโลเมตร หรือ 605,625 ไร่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบัน
พบว่าพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสมดุลย์ธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้
ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2532 โดยให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติ
ไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า - คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532
ลงวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยให้ นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี
ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ผลการสำรวจพบว่า
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี
ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด
ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ( ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด ) และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กษ 0713 (กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ
กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าง อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลอย ตำบลศิลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ กิ่งอำเภอสามร้อยยอด อำเภอปราณบุรี
ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี และตำบลบ่อนนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เพื่อประกาศเป็น อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20 ก วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2542
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
จุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและน่าสนใจหลายแห่ง เช่น น้ำตกห้วยดงมะไฟ น้ำตกผาหมาหอน น้ำตกโจน และทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นจำนวนมาก
น้ำตกดงมะไฟ
เป็นน้ำตกที่ลดหลั่นกันลงมา 15 ชั้น จากต้นน้ำกุยบุรีแพรกขวา มีลักษณะเป็นแก่นหินแกรนิต
มีแอ่งน้ำสำหรับเล่นได้ มีความสวยงาม ร่มรื่นของสภาพป่าสองฝั่งลำธาร น้ำใสและบริสุทธิ์มาก เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี
น้ำตกผาหมาหอน
เป็นน้ำตกที่มีระดับลดหลั่นกันลงมา 3 ชั้น เกิดจากต้นน้ำกุยบุรีแพรกซ้าย มีลักษณะเป็นผาลาดสูงชันเกือบตั้งฉาก
มีสายน้ำใสไหลแรงตลอดเวลา บริเวณตอนกลางมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ และบริเวณพื้นล่างมีพันธุ์ไม้จำนวนมาก เช่น เฟิร์น ปาล์มหลายชนิด
เหมาะแก่การเดินชมศึกษาธรรมชาติและพักผ่อนอย่อนใจ
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาขวางตัวในทิศเหนือ - ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี
อันเป็นเทือกเขาซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า ซึ่งมีสภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. แบบลูกคลื่นลอนชั้นถึงเนินเขา
มีความลาดชันประมาณ 80-100 เมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกบุกรุก แผ้วถางทำไร่สับปะรด อ้อย ผักต่างๆ
2. แบบภูเขา
มีความลาดชันประมาณ 35% และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 750 เมตรขึ้นไป
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
สภาพอากาศระหว่างเดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน จะมีฝนตกชุกในเดือนพฤษภาคมและทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม
หลังจากนั้นจะตกหนักในเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,178.8 มิลลิเมตร
อุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 25.3 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด ประมาณ 29.3 องศาเซลเซียส
|
|
พรรณไม้ :-
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นที่อุดมสมบูรณ์
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ พลอง ทะลายเขา เขล็ง กระชิด พลวง สมอ ตะเคียนหิน มะไฟป่า พืชตระกูลปาล์มชนิดต่างๆ เช่น หมากเขียว หวายชนิดต่างๆ เตาร้าง
โดยเฉพาะหวายมีเป็นจำนวนมาก
พืชชั้นล่าง
มีหลายชนิด เช่น พวกวงศ์ขิง ข่า เฟิร์น บอน เป็นต้น
|
|
สัตว์ป่า :-
สำหรับสัตว์ป่ายังมีชุกชุม เนื่องจากมีแหล่งน้ำและอาหารสมบูรณ์
สัตว์ป่าทั่วไป
ได้แก่ ช้าง กระทิง วัวแดง กวางป่า หมี เก้ง สมเสร็จ ชะนี ลิง ค่างชนิดต่างๆ เลียงผา กระจง หมูป่า กระต่ายป่า ฯลฯ
นก
ได้แก่ นกเงือก นกการัง ไก่ป่า นกระวังไพร นกกางเขนดง นกเขา นกกระยางกรอก นกกระยางแดง
สัตว์เลื้อยคลาน
ได้แก่ พวกเต่า ตะพาบน้ำ
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
ได้แก่ กบฑูต คางคก เขียด
ปลา
ได้แก่ ปลาชนิดต่างๆ
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีบ้านพัก ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว ดังนี้
* |
ชื่อบ้านพัก |
ห้องพัก/ห้องน้ำ |
จำนวนคน |
บาท/คืน/หลัง |
สิ่งอำนวยความสะดวก |
1 |
บ้านชงโค |
3/2 |
12 |
1,200 |
มีเครื่องนอน |
2 |
บ้านตะแบก |
2/2 |
16 |
1,600 |
มีมุ้งลวด |
หมายเหตุ :-
หากปรากฏว่ามีผู้เข้าพักแรมเกินจำนวนที่กำหนด ต้องจ่ายค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก
ในอัตราคนละ 50 บาท/คน/คืน โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก
นอกจากนี้ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
งานบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-5734, 0-2579-7223 ต่อ 724 หรือ 725
หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี สำนักงานป่าไม้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77000....
โทรศัพท์ 0-3261-1275
หรือที่เว็บไวต์ http://www.forest.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติกุยบุรี สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถยนต์
สามารถเดินทางสายกรุงเทพฯ - ภาคใต้ จะผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกอำเภอ มีเส้นทางที่สามารถเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ป่า
ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากถนนเพชรเกษมประมาณหลักกิโลเมตรที่ 320
เป็นเส้นทางเข้าสู่บ้านนิคมเดินบันได เป็นเส้นทางลาดยางประมาณ 15 กิโลเมตร ต่อจากนั้นเป็นทางลูกรัง สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง ใช้ได้ดีในฤดูแล้ง
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติกุยบุรี :-
|
|
|