อุทยานแห่งชาติภูผายล สกลนคร


ลิงก์ผู้สนับสนุน : -




 
กลับหน้าแรกหามานานท่องเที่ยวทั่วไทย
สกลนคร พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาน
แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวผู้ไทย ถิ่นมั่นในพุทธธรรม
   ส ก ล น ค ร
   เ ท ศ ก า ล / ป ร ะ เ พ ณี
   โ ร ง แ ร ม แ ล ะ ที่ พั ก
   ร้ า น อ า ห า ร
   ร้ า น ค้ า
   บ ริ ษั ท ทั ว ร์ / ร ถ เ ช่ า
   ส มุ ด เ ยี่ ย ม ช ม
   ส ม า ชิ ก ท่ อ ง เ ที่ ย ว
   ภ า พ ถ่ า ย
   ก า ร เ ดิ น ท า ง
   แ ผ น ที่


   แ จ้ ง แ ก้ ไ ข ข้ อ มู ล
 
แลกลิงค์กับหามานานดอทคอม
แ ล ก ลิ ง ค์ กั บ เ ร า
: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ภู ผ า ย ล : : :

อุทยานแห่งชาติภูผายล
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง กิ่งอำเภอโคกศรีสุพรรณ กิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และอำเภอดงหลวง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เป็น 1 ใน 5 ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาหินทราย เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา เนินหิน อ่างเก็บน้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด มีเนื้อที่ประมาณ 828.56 ตารางกิโลเมตร หรือ 517,850 ไร่

ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
ส่งภาพถ่ายให้เรา
 

ประวัติความเป็นมา :-
ด้วยกรมป่าไม้ได้รับหนังสือกรมชลประทาน ที่ กษ 0301/ส.524 ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2527 แจ้งว่า เนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหวด ตำบลเต่างอย กิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 ได้พระราชทานพระราชดำริตอนหนึ่งว่า " ควรอนุรักษ์สภาพธรรมชาติ และป่าไม้บริเวณใกล้กับหัวงานเขื่อนกักเก็บน้ำของโครงการ อ่างเก็บน้ำห้วยหวด ตลอดจนบริเวณข้างเคียงของอ่างเก็บน้ำ พร้อมกับควรปรับปรุ่งเสริมแต่งบริเวณให้มีความสวยงามและเหมาะสม เพื่อพัฒนาให้เป็นอุทยานแห่งชาติหรือส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี โดยให้กรมชลประทานและส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการโดยเร่งด่วนต่อไปด้วย " กรมชลประทาน จึงขอความร่วมมือกรมป่าไม้ให้รีบดำเนินการโครงการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติและป่าไม้ในบริเวณดังกล่าว แล้วจัดเป็นอุทยานแห่งชาติหรือแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสนองพระราชดำริต่อไป

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีหนังสือที่ กษ 0713/140 ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2528 ให้อุทยานแห่งชาติภูพาน ตรวจสอบพื้นที่บริเวณดังกล่าว ปรากฏว่ามีสภาพป่าธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติภูพาน ที่ กษ 0713(ภพ)/144 ลงวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2528 นำส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ดังกล่าวของ นายมานพ กำจรเจิด นักวิชาการป่าไม้ 4 และหนังสืออุทยานแห่งชาติภูพาน ที่ กษ 0713(ภพ)/532 ลงวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2528 นำส่งรายละเอียดต่างๆ บริเวณดังกล่าวของ นายวุฒิการ อำพลศักดิ์ ภูมิสถาปนิก และ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/405 ลงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 ให้อุทยานแห่งชาติภูพานทำการสำรวจสภาพป่าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอุทยานแห่งชาติภูพาน ได้มีหนังสือที่ กษ 0713(ภพ)/พิเศษ ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 รายงานผลการสำรวจเพื่อจัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ของ นายประมุข ทิชากร นักวิชาการป่าไม้ 5 ให้กองอุทยานแห่งชาติดำเนินการเสนอจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2539 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2529 เห็นชอบในหลักการให้จัดพื้นที่บริเวณป่าเหนืออ่างเก็บน้ำห้วยหวด เป็นอุทยานแห่งชาติ และเป็นโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเพื่อการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูล้อมข้าวและป่าภูเพ็ก ในท้องที่ตำบลตองโขน ตำบลเหล่าโพนค้อ กิ่งอำเภอศรีสุพรรณ อำเภอเมืองสกลนคร ตำบลกกปลาซิว อำเภอเมือง และตำบลจันทร์เพ็ญ ตำบลเต่างอย กิ่งอำเภอเต่างอย อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ป่าดงภูพาน ในท้องที่ตำบลหนองบ่อ ตำบลคำพี้ ตำบลก้านเหลือง ตำบลบ้านแก้ง ตำบลนาแก ตำบลพิมาน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม และตำบลกกตูม ตำบลฟังแดง ตำบลดงหลวง อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร และป่าดงภูสีฐาน ในท้องที่ตำบลคำชะอี ตำบลบ้านเหล้า ตำบลบ้านค้อ ตำบลโพนงาม อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2531 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 122 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

ต่อมา อุทยานแห่งชาติห้วยหวด ( เดิม ) ได้มีหนังสือที่ กษ 0712.344/911 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ขออนุมัติเปลี่ยนชื่อ อุทยานแห่งชาติห้วยหวด เป็น "อุทยานแห่งชาติภูผายล" โดยให้เหตุผลคือชื่ออุทยานแห่งชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนมากมีคำว่า " ภู " นำหน้า และเพื่อให้สอดคล้องกับจุดเด่น คือ ภูผายล ซึ่งเป็นจุดเด่น เป็นศิลปะหินและเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของคนโบราณ ซึ่งนักโบราณคดีคำนวณ อายุภาพสลักบนฝาหินว่า มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี และเป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชนก่อนประวัติศาสตร์ เหมาะที่จะพัฒนาเป็นจุดชมทิวทัศน์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคตได้ จึงเห็นควรเปลี่ยนชื่อ อุทยานแห่งชาติห้วยหวด เป็น "อุทยานแห่งชาติภูผายล" และกรมป่าไม้ได้พิจารณาแล้ว ตามประกาศกรมป่าไม้ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 เพื่อให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์สำคัญของอุทยานแห่งชาติและจังหวัดสกลนคร คือ " ภูผายล " ซึ่งเป็นศิลปกรรมภาพ แกะสลักลายเส้นอายุกว่า 3,000 ปี จึงเปลี่ยนชื่อ อุทยานแห่งชาติห้วยหวด เป็น "อุทยานแห่งชาติภูผายล" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ หน้า 36 - 39 เล่ม 105 ตอนที่ 112 วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 57 ของประเทศไทย

 
Top
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :

สถานที่น่าสนใจ :-

อ่างเก็บน้ำห้วยหวด บริเวณพลับพลาฝั่งขวาของอ่างห้วยหวดมี ก้อนหินรูปร่างแปลก น่าสนใจ เรียงรายตามธรรมชาติอย่างสวยงาม ตั้งอยู่ที่กิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 500 เมตร มี จุดชมวิวบริเวณสันเขื่อน และหน้าผาขอบอ่างหลายแห่ง มีลานหินต่างๆ ที่วางตัวตามธรรมชาติอย่างสวยงาม เหมาะที่จะนำอาหารมารับประทานและเที่ยวพักผ่อนใจกับบรรยากาศที่เย็นสบาย

อ่างเก็บน้ำดงน้อย ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ถ้ำหีบภูผานาง ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ถ้ำพระเวทย์ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

ถ้ำเสาวภา ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

หน้าผาเนินหิน ประกอบด้วย ลานดอกไม้ มีไม้ดอกสีม่วง คือ ดอกดุสิต สีเหลืองและสีขาว บริเวณหน้าผาจะพบเห็นดอกไม้ชนิดหนึ่งคล้ายดอกกล้วยไม้ ซึ่งออกดอกช่วงฤดูหนาว

น้ำตกคำน้ำสร้าง เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดของอุทยานฯ ถ้ายืนบนสันเขื่อนมองลงไปทางทิศใต้จะสามารถมองเห็นน้ำตกได้ อยู่ห่างจากที่ทำการประมาณ 400 เมตร เดินชมน้ำตกได้โดยทางเท้าธรรมชาติ น้ำตกสูงประมาณ 20 เมตร ไหลมาจากห้วยคำน้ำสร้าง ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยหวด

ภูผายล อยู่บนเส้นทางสายอำเภอเต่างอย - ศรีวิชา แล้ว เลี้ยวซ้าย บ้านนาอ่าง - ม่วงคำ เดินทางเข้าต่อบ้านโพนบก - โพนแพง ไปยังบ้านนาผาง รวมระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ มีจุดชมวิวที่สวยงาม เพราะมีบันไดยืนชมวิวได้ หน้าผามีรูปแกะสลักรูปภาพต่างๆ ซึ่งมีอายุประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งแสดงเรื่องราวมากที่สุดในบรรดาศิลปะแบบเดียวกันทั้ง 7 แห่ง ในภาคอีสาน

ผาพญาเต่างอย จากที่ทำการไปตามถนนเส้นบ้านห้วยหวด - โคกกลาง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร จะพบผาพญาเต่างอย อยู่ริมถนน ลักษณะเป็นหินทรายรูปร่างคล้ายเต่างอยกำลังจะลงน้ำหันหน้าลงสู่ลำน้ำพุง กว้าง 5 เมตร โดยเชื่อกันว่าบริเวณใดที่มีเต่างอย แสดงว่า เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นตำนานเรียกชื่อบ้านเต่างอย

น้ำตกแก่งโพธิ์ ออกจากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามถนนสายเปรมพัฒนา แล้ว แยกซ้าย ที่บ้านสานแว้ ผ่านหมู่บ้านนาหินกอง รวมระยะทาง 32 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 14 เมตร สูง 10 เมตร มีพื้นที่สามารถกางเต็นท์พักแรมได้กว่า 1,000 คน
 
 
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
 

ภาพถ่าย :-
  • รอภาพถ่ายจากคุณไงครับ
ส่งภาพถ่ายให้เรา
 

สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงสลับกับเทือกเขาหินทราย มีความสูง 300 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณเทือกเขามีที่ราบหลังเต่ายาวประมาณ 10 กิโลเมตร รายล้อมด้วยภูเขาสูงชัน เป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำหลายสาย ไหลลงสู่แม่น้ำพุง ห้วยบางทราย ห้วยหวด ห้วยเลา และอ่างเก็บน้ำต่างๆ ถึง 19 แห่ง ที่น่าสนใจ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยหวด อ่างเก็บน้ำดงน้อย สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ความสามารถอุ้มน้ำได้น้อย
 

สภาพภูมิอากาศ :-
แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,484 มิลลิเมตร/ปี
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดในเดือนธันวาคมประมาณ 16 องศาเซลเซียส
 

พรรณไม้ :-
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา

พันธุ์ไม้ ได้แก่ ตะเคียน มะค่าโมง ตะแบก เต็ง รัง แดง เหียง พลวง กะบก ประดู่ พยุง
ไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไม้ไผ่และหวายชนิดต่างๆ
 

สัตว์ป่า :-
ประกอบด้วย เก้ง กวาง หมูป่า หมาไน นกชนิดต่างๆ เป็นต้น
 

สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติภูผายล ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
 
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานแห่งชาติภูผายล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร 47260
โทรศัพท์ 08-1981-8289


หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th
 

ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
  1. ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
  2. ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
  3. ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
  4. ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
  5. หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
 

การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติภูผายล สามารถเดินทางได้ดังนี้

ทางรถยนต์
..... จากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เดินทางไปตามทางหลวงสายสกลนคร - ธาตุพนม ห่างจากจังหวัดนครพนม 13 กิโลเมตร เลี้ยวขวา ทางแยกเข้าบ้านนายอ ถนนลาดยาง อีก 12 กิโลเมตร ถึงอำเภอเต่างอย และเดินทางต่อถนนสาย เต่างอย - กวนบุ่น อีก 10 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูผายล รวมระยะทางจากจังหวัดสกลนครถึงอ่างเก็บน้ำห้วยหวด ประมาณ 35 กิโลเมตร
 
 

แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติภูผายล :-

 

: : : ส ถ า น ที่ ท่ อ ง เ ที่ ย ว น่ า ส น ใ จ : : :

 
แนะนำที่เที่ยวให้เรา
ข่าวประชาสัมพันธ์ : : : ข่ า ว ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ : : :
มีข่าวอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้บอกเราได้เลย เราจะนำมาลงให้นะครับ ขอบคุณที่ส่งข่าว
ฝากข่าว
โฆษณา : : : โ ฆ ษ ณ า สิ น ค้ า แ ล ะ บ ริ ก า ร : : :
โฆษณาตรงนี้จะปรากฎทั้ง 76 จังหวัดภายในเว็บแห่งนี้
ติดต่อโฆษณาคลิกที่นี่
: : : อ ะ ไ ร ดี ๆ จ า ก บ อ ร์ ด ท่ อ ง เ ที่ ย ว : : :
เก็บอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้จากบอร์ดหามานท่องเที่ยวมาฝากครับ...
ตั้งกระทู้ใหม่
 

- : - - - - - - - - :- - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - - :- - - - - - - - : - - - - - - - : -
ค้นหาคำว่า :
เพิ่มเว็บไซต์เข้าระบบค้นหา
 
-:-เลือกจังหวัดที่ต้องการ-:-

 บอร์ดหามานานท่องเที่ยว

ส่งและดูภาพทั่วไทย
ส่ง + ดูภาพทั่วไทย

ส่งการ์ดท่องเที่ยว
ส่งการ์ดท่องเที่ยว

ปฏิทินท่องเที่ยว
ปฏิทินท่องเที่ยว

อ่านและฝากข่าวท่องเที่ยว
อ่านและฝากข่าวท่องเที่ยว

เล่าเรื่องเที่ยว
เล่าเรื่องเที่ยว

- - - - - - - - - - - - - - - -

ลงโฆษณาคลิกที่นี่
 

 
Copyright © 2002 All right reserved. webmaster@hamanan.com ไปหน้าแรกหามานานดอทคอม