: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ภู พ า น : : :
|
--> ภาพจากนักเดินทางโดย กล้องดิจิตอล Cyber-shot รุ่น DSC-F828 ของ Sony <--
|
อุทยานแห่งชาติภูพาน
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมือง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วยป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติที่สวยงาม
เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา ทิวทัศน์ตามธรรมชาติ ตลอดจนพื้นป่าแห่งนี้ในอดีตได้ชื่อว่าเป็น ปัญหาทางด้านการเมืองและในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ก็ยังเป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ใช้สำหรับต่อต้านทหารกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์
มีเนื้อที่ประมาณ 655.34 ตารางกิโลเมตร หรือ 415,439 ไร่
|
ภาพโดย นักเดินทาง
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502
ให้กำหนดป่าเขาภูพานหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ป่าเขาชมภูพาน จังหวัดสกลนคร และจังหวัดกาฬสินธุ์ และป่าอื่นๆ
ในท้องที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้เป็นการถาวร
เพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรมป่าไม้ได้เสนอจัดตั้งป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
กำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่ ตำบลหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลโคกภู ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก และตำบลห้วยยาง ตำบลพังขว้าง
อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์
เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2515 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515
เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 7 ของประเทศไทย
รวมเนื้อที่ประมาณ 418,125 ไร่
ต่อมาจังหวัดกาฬสินธุ์ได้มีหนังสือที่ กส 09/598
ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2516 รายงานว่าตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 244 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 กำหนดให้ที่ดินป่าภูพานเป็นอุทยานแห่งชาตินั้น
ปรากฏว่ามีพื้นที่บางส่วนในบางตำบลของ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ แต่ไม่ได้ระบุตำบลลงไว้
กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการตรวจสอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติใหม่ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ และกำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานในท้องที่ตำบลนาใน
ตำบลไร่ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
และตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2518
ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 106 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2518
ต่อมา กรมป่าไม้
ดำเนินการรังวัดแนวเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน เพื่อทำการขอเพิกถอนแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2520
ซึ่งอนุมัติในหลักการให้เพิกถอนพื้นที่บริเวณบ่อหิน เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในคราวประชุม
ครั้งที่ 2/2521 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ให้กรมป่าไม้ดำเนินการเพิกถอนพื้นที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม ( หลวงปู่ฝั้น ) และอ่างเก็บน้ำห้วยแข้
ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน แต่เนื่องจากเขตอุทยานแห่งชาติตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าภูพานให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2518
ไม่ได้ระบุชื่อตำบลบางตำบลไว้ จึงไม่สามารถดำเนินการเพิกถอนได้ กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2523
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ดำเนินการตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้แนวทางปฏิบัติ โดยให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาขึ้นไปใหม่และกันพื้นที่ดังกล่าวออกเสีย
และเพิ่มตำบลที่ตกหล่นให้สมบูรณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอุทยานแห่งชาติภูพาน ในท้องที่ตำบลนาใน ตำบลไร่
ตำบลห้วยบ่อ อำเภอพรรณานิคม ตำบลพังขว้าง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง ตำบลนาม่อง ตำบลโคกภู ตำบลสร้างค้อ อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
และตำบลแซงบาดาล ตำบลมหาไชย ตำบลผาเสวย อำเภอสมเด็จ ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2525 ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 161 ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2525 รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 415,439
ไร่ ( คือระบุตำบลเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงแนวเขตตำบลและเพิกถอนสำนักสงฆ์ถ้ำขาม บ่อหิน พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ อ่างเก็บน้ำห้วยแข้ ออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ )
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
น้ำตกคำหอม
เป็นน้ำตกที่รู้จักกันโดยแพร่หลายของชาวสกลนครและจังหวัดใกล้เคียง ในบริเวณน้ำตกแห่งนี้ทางราชการได้จัด งานสัปดาห์การท่องเที่ยว
เพื่อชี้แจงให้ราษฎรได้รู้จักความสำคัญของป่าไม้ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นประจำทุกปี
น้ำตกแห่งนี้อยู่ใกล้เคียงกับน้ำตกตาดโตน ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพระราชฐาน
พระธาตุภูเพ็ก
เป็นพระธาตุเก่าแก่สมัยขอมเรืองอำนาจ อยู่บนเทือกเขาภูพาน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 544
เมตร สร้างด้วยศิลาแลงในลักษณะของเทวาลัย ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปโบราณที่เพิ่งขุดพบ
น้ำตกปรีชาสุขสันต์
มีลักษณะเป็นลานหินลาดเอียงประมาณ 30 - 40 องศา ยาวประมาณ
12 เมตร บนลานหินที่ลาดเอียงมีน้ำไหลผ่านบนผิวเสมอกันทั้งแผ่นเหมือนกระดานลื่นที่มีน้ำคอยหล่อเลี้ยงอยู่
เรียกได้ว่าเป็นลานสไลด์เดอร์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
สะพานหินธรรมชาติ ( ทางผีผ่าน )
มีลักษณะเป็นสะพานหินที่เชื่อมต่อระหว่างหินสองกลุ่ม ขนาดกว้างของสะพานประมาณ 1.5
เมตร ยาวประมาณ 8 เมตร ด้านใต้เป็นเวิ้งถ้ำกว้าง ใช้เป็นที่หลบแดดหลบฝนได้ นับว่าเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ถ้ำเสรีไทย
เป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ไปต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ของขบวนการเสรีไทย ซึ่งมีนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นหัวหน้าขบวนการสายสกลนคร บริเวณใกล้เคียงยังมีร่องรอยการขุดแต่งเพื่อเป็นสนามบินลับและที่สะสมกำลังพลอีกด้วย
ผานางเมิน
เป็นแนวหินผาที่ทอดตัวออก หันหน้าไปทางทิศตะวันตก สามารถ ชมทิวทัศน์
ออกไปได้ไกลแสนไกล เหมาะแก่การตั้งค่ายพักแรมและดูพระอาทิตย์ตก
ผาเสวย
อยู่ในเขต อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ลักษณะเป็นหน้าผาที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ณ ที่แห่งนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จและประทับเสวยกระยาหารกลางวัน จึงได้ชื่อว่า
" ผาเสวย " มาแต่บัดนั้น
เทือกเขาภูพาน
เป็นขุนเขาแห่งประวัติศาสตร์ที่มีผู้รู้จักมากที่สุด แต่เป็นดินแดนที่น้อยคนนักที่ได้เข้าไปสัมผัสความงดงามตามธรรมชาติ
โดยเฉพาะร่องต่อระหว่าง จังหวัดสกลนคร - กาฬสินธุ์ สภาพป่า ภูเขา น้ำตก ยังบริสุทธิ์ท้าทายต่อการพิสูจน์เสมอ
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินปูน เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารและห้วยต่างๆ เช่น ห้วยหินลาด ห้วยบุ่น ห้วยโคก ห้วยม่วง ห้วยเลา
ห้วยหินปูน ห้วยอีคอน ห้วยวังปลา เป็นต้น ซึ่งจะไหลลงสู่ แม่น้ำอูน ตามสันเขาและไหล่เขาบางแห่งเป็นทุ่งหญ้า บางแห่งมีหินโผล่สูงขึ้นมาพ้นระดับดินและยอดหญ้า
ทำให้เกิดความงดงามตามธรรมชาติ และบางแห่งเป็นหน้าผาสูงชัน
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม ฝนตกชุกประมาณเดือนกันยายน
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ อากาศเย็นสบาย
|
|
พรรณไม้ :-
สภาพป่าประกอบด้วย
ป่าเต็งรัง
ขึ้นอยู่กระจัดกระจายโดยทั่วไป
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ เหียง พลวง รกฟ้า ส้าน กระบก เต็ง รัง เป็นต้น
ป่าดงดิบ
ขึ้นอยู่หนาแน่นตามบริเวณฝั่งลำห้วยและตามลำแม่น้ำ
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ ไม้ตะเคียนต่างๆ มะค่าโมง ยาง ประดู่ ตะแบก พยุง พยอม สมพง แดง นนทรี เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณ
ขึ้นอยู่ตามลาดเขาระหว่างป่าเต็งรังกับป่าดงดิบ พันธ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ผสมกันไป
ไม้พื้นล่าง
ประกอบด้วย ไม้ไผ่ หวายต่างๆ ทุ่งหญ้ามีเนื้อที่กว้างขวาง มีหญ้าเพ็ก หญ้าคา และหญ้าคมบางขึ้นอยู่
|
|
สัตว์ป่า :-
ประกอบด้วย ค่าง บ่าง ชะมด กระรอก เม่น ลิงลมหรือนางอาย เสือปลา อีเห็น กวาง วัวแดง เสือโคร่ง หมี ไก่ป่า ช้างป่า
และ นกนานาชนิด เช่น นกขุนทอง นกแซงแซว นกดุเหว่า นกกางเขนดง นกหัวขวาน นกกวัก เป็นต้น
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติภูพาน มีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานแห่งชาติภูพาน ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 47000
โทร. 042-726616 (VoIP), 042-703044
หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติภูพาน สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถยนต์
..... จากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ไปตามทางหลวงหมายเลข 213
ประมาณ 25 กิโลเมตร ผ่านพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ถึงบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูพาน
ที่กิโลเมตรที่ 25 ซึ่งอยู่ริมทางหลวง
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติภูพาน :-
|
|
|