: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ท ะ เ ล บั น : : :
|
- -> ภาพจากนักเดินทางโดย กล้องดิจิตอล Cyber - shot U รุ่น DSC-U10 ของ Sony <- -
|
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล
มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 196 ตารางกิโลเมตร
|
ภาพโดย ภูริชญา ทลาไธสง
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
ได้รับการประกาศจัดตั้งให้เป็น อุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523
ครอบคลุมพื้นที่ 10.68 ตารางกิโลเมตร และในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ได้ประกาศเพิ่มเติมพื้นที่เป็น 196
ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีแนวเขตด้านทิศใต้จดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย
และทางด้านทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง
|
Top |
ข้อมูลเพิ่มเติม :-
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน
ตั้งชื่อตามชื่อหนองน้ำจืดขนาดใหญ่ ทะเลบัน ซึ่งน่าที่จะเพี้ยนมาจากภาษามลายูว่า เลอ โอ๊ด กะบัน
มีความหมายว่า แผ่นดิบยุบ ในอดีตบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก ต่อมาแผ่นดินค่อยๆ ยุบลงเกิดเป็นแอ่งลึก
มีน้ำขังกลายเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ นักธรณีวิทยาได้สันนิษฐานว่าพื้นที่ข้างล่างอาจเป็นโพรงถ้ำขนาดใหญ่ เพราะบริเวณนี้ขนาบด้วยเทือกเขาทั้ง 2 ด้าน คือ
เทือกเขาจีนและเทือกเขามดแดง เมื่อโพรงถ้ำเกิดการพังลงพื้นที่บริเวณนี้ก็ยุบตัวลงด้วย
|
Top |
ชีวิตความเป็นอยู่ของซาไกหรือเงาะป่า :-
ซาไกหรือเงาะป่า
ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน มีซาไกหรือเงาะป่าเจ้าของสมญา ราชันย์แห่งพงไพร
เผ่าพันธุ์มนุษย์ซึ่งสัมผัสและรู้จักผืนป่าทุกตารางนิ้ว ชำนาญการใช้พื้นป่าในการดำรงชีวิต และรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชในลักษณะของยารักษาโรคและอาหาร
เหนือเผ่าพันธุ์มนุษย์ใดๆ การดำรงชีพจะอาศัยผลไม้ พืชผักที่มีอยู่ในป่าเป็นอาหาร ไม่รู้จักการเพาะปลูก นิยมการล่าสัตว์โดยการใช้กระบอกตุดหรือบอเลาคู่กับลูกดอกอาบยางน่องหรือบิลา
ชอบอาศัยอยู่ในป่าลึก มีอุปนิสัยเร่ร่อนและรักสงบ ทำที่พักจากใบไม้ ในป่าที่พักเรียกว่า ทับ เมื่อใบไม้ที่มาทำเหี่ยวก็จะเร่ร่อนหาแหล่งที่อยู่ใหม่ต่อไป
ปัจจุบันมีซาไกอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่เพียงกลุ่มเดียว มีสมาชิกจำนวน 9 คน ซึ่งวิถีชีวิตของซาไกได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากการได้สัมผัสกับสังคมของคนเมืองมากขึ้น
และส่วนหนึ่งจากการดำรงชีวิตในป่าเริ่มฝืดเคืองขึ้น เนื่องจากป่าถูกบุกรุกและถูกทำลาย แต่อย่างไรก็ตาม ซาไก ก็ยังเป็นชนเผ่าดั้งเดิมเผ่าสุดท้ายที่มีอยู่ในป่าทะเลบัน
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
บึงทะเลบัน
เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่กลางหุบเขา ขนาบด้วยเทือกเขาจีนและเขาวังประ มีเนื้อที่ประมาณ 0.32
ตารางกิโลเมตร มีปลาน้ำจืดและหอยชุกชุม รอบบึงมีต้นบากงและพรรณไม้น้ำอื่นๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและเป็นที่อยู่ของกบว๊าก
น้ำตกยาโรย
ต้นน้ำเกิดจากป่าหัวกะหมิง เทือกเขาจีน มีน้ำตก 9 ชั้น อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 6 กิโลเมตร แยกเข้าไปน้ำตกอีก 700 เมตร
น้ำตกโตนปลิว
ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาจีน เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน มีน้ำไหลตลอดปี
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือ 10 กิโลเมตร แยกเข้าไปตามถนนลูกรังอีกประมาณ 3 กิโลเมตร
ถ้ำโตนดิน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 2 กิโลเมตร ถ้ำลึกประมาณ 700 เมตร ภายในมี หินงอกหินย้อย
ลำธารไหลผ่าน มีปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ และยังมีเครื่องมือขุดแร่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลงเหลือให้เห็นอยู่
ทุ่งหญ้าวังประ
เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ระหว่างภูเขาทางทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ มีสัตว์ป่าอยู่หลายชนิด เช่น เม่น กระจง ไก่ป่า
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร และแยกซ้ายเข้าถนนลูกรังไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร
ถ้ำลอดปูยู
เป็นลอดคล้ายถ้ำลอดของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน บริเวณเขากายัง
ภายในถ้ำมี หินงอกหินย้อย สองฝั่งลำคลองเป็นป่าโกงกาง การเดินทางไปถ้ำลอดปูยูต้อง ลงเรือที่ท่าเรือตำมะลัง
ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดสตูล ประมาณ 9 กิโลเมตร
นอกจากนี้
แหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ยังมี
น้ำตกห้วยจิ้งหรีด ถ้ำผาเดี่ยว ถ้ำค้างคาว ถ้ำคนธรรมพ์ และเกาะปรัสมานา
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
Top |
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน เป็นเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วย เขาวังช้าง เขาหินร้อง เขาฟ้าริน เขาวังพะเนียด เขาจีน
เขามดแดง เขาหาบเคย เขากวงใหญ่ เขาวังหมัน เขากวงเล็ก เขาวังหมู เขาพัง เขาวังกลวง เขากายัง เขากล่ำ เขาปูยู และเขาคันวังกูนอง มียอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ในเทือกเขาจีน
สูงประมาณ 756 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพทางธรณีโดยทั่วไปของเทือกเขาเหล่านี้พบว่าทางด้านอำเภอเมือง
ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีลักษณะเป็นเทือกเขาหินปูนซึ่งจะมีการกัดเซาะตามธรรมชาติ เกิดเป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่หลายแห่ง เช่น ถ้ำโตนดิน ถ้ำผาเดี่ยว
และ ถ้ำลอดปูยู เป็นต้น สำหรับทางด้านอำเภอควนโดน ทางด้านตะวันออกของที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
เป็นหินแกรนิต นอกจากนี้อุทยานแห่งชาติทะเลบันยังได้รวมพื้นที่ เกาะปรัสมานา ซึ่งอยู่ติดแนวเขตประเทศมาเลเซีย
|
|
พรรณไม้ :-
สภาพสังคมพืชในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน สามารถจำแนกออกได้เป็น
ป่าดงดิบ
ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ มีพันธุ์ไม้หลายชนิดขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น มีเรือนยอดของไม้หลายระดับชั้น
พันธุ์ไม้ที่พบ
ได้แก่ ยาง ตะเคียนทอง ไข่เขียว กระบาก พะยอม เหรียง มะหาด ขนุนปาน ทุ่งฟ้า มะม่วงป่า พญาไม้ หลาวชะโอน ฯลฯ
ไม้พื้นล่าง
ได้แก่ หวาย เถาวัลย์ ว่าน เฟิร์น และบอน
ป่าเบญจพรรณ
อยู่บริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติแถบทุ่งหญ้าวังประ เป็นป่าไม้ผลัดใบ โดยทั่วไปป่าชนิดนี้ทางภาคใต้พบน้อยมาก
พันธุ์ไม้ที่พบ
ได้แก่ กระโดน ตะแบก เปล้า ปอฝ้าย ส้าน ปออีเก้ง แคทราย และโมกมัน ฯลฯ
ไม้พื้นล่าง
ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่ไร่ ไผ่หลอด และหญ้าชนิดต่างๆ
ป่าชายเลน
พบขึ้นตามชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณคลองท่าจีน คลองปูยู คลองกายัง และคลองกำ
พันธุ์ไม้ที่พบ
ได้แก่ โกงกาง แสม โปรงขาว ตาตุ่มทะเล ถั่ว และเถาถอบแถบ
|
|
สัตว์ป่าและสัตว์น้ำ :-
จากการสำรวจชนิดสัตว์ป่า
ในเขตอุทยานแห่งชาติทะเลบัน รวมทั้งสิ้น 406 ชนิด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 64 ชนิด
ได้แก่ แมวลายหินอ่อน สมเสร็จ และเลียงผา เก้ง กระจง ควาย หมูป่า เสือโคร่ง แมวดาว ค่างแว่นถิ่นใต้ ชะนีมือขาว หมีคน ฯลฯ
นก
จำนวน 289 ชนิด เช่น นกยางกรอกพันธุ์จีน เหยี่ยว นกเขาพันธุ์จีน นกบั้งรอกเล็กท้องแดง นกขุนแผนอกสีส้ม
นกเงือก ( นกเงือกมีถึง 8 ชนิดใน 12 ชนิด ของประเทศไทย )
นกแต้วแล้ว นกแซวสวรรค์ นกขุนทอง ฯลฯ
สัตว์เลื้อยคลาน
จำนวน 40 ชนิด เช่น เต่าจักร ตะพาบน้ำ ตุ๊กแกป่าใต้ กิ้งก่าบินหัวสีฟ้า เห่าช้าง งูเหลือม งูจงอาง ฯลฯ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 20 ชนิด เช่น
อึ่งกรายหัวแหลม ขง โคร่ง กบว๊าก กบทูต ปาดบ้าน และอึ่งแม่หนาว ฯลฯ
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานแห่งชาติทะเลบัน อ.ควนโดน จ.สตูล 91160
โทรศัพท์ 08-3533-1710
หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
นักท่องเที่ยว หรือนักดำน้ำ โปรดช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นขณะที่อยู่บนบก ในเรือ หรือขณะดำน้ำ เช่น
- ไม่เหยียบ หรือเก็บปะการัง กัลปังหา หรือหอย ไปเป็นของที่ระลึกส่วนตัว
- ไม่ทำอันตรายต่อสัตว์น้ำทุกชนิด
- หากพบขยะใต้ท้องทะเล โปรดเก็บมาทิ้งในถังขยะบนเรือหรือที่ชายฝั่ง
- โปรดอย่าทิ้งขยะในท้องทะเล เก็บไว้ในเรือจนกว่าจะถึงฝั่ง
- ควรทิ้งขยะในที่รองรับเท่านั้น
- ไม่ควรนำเรือเข้าใกล้แนวปะการังน้ำตื้นมากเกินไป เพราะอาจจะเกิดการหักพังของปะการัง
- ไม่ควรซื้อของที่ระลึกที่มีซากปะการัง กัลปังหาเป็นส่วนประกอบ เพราะเท่ากับเป็นการสนับสนุนให้มีการเก็บปะการัง กัลปังหาเพิ่มขึ้น
- ไม่ควรทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง ควรผูกเรือไว้กับทุ่นจอดเรือในบริเวณที่จัดไว้
|
|
การเดินทาง :-
เดินทางจากหาดใหญ่ ควนสะตอ โดยสามารถเดินทางได้ทั้งรถโดยสารประจำทาง และรถตู้ประจำทาง
และจาก ควนสะตอ - ที่ทำการอุทยานฯ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติทะเลบัน :-
|
|
|