: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ เ ข า พ ร ะ วิ ห า ร : : :
|
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
มีเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร หรือ 93,750 ไร่
|
ภาพโดย Lalida Kittivinichnun
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
การสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่
ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา ทำความตกลงกับกรมป่าไม้ กำหนดพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์
ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก
มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ขอให้กรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป
พื้นที่ที่สำรวจเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณอยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าเขาพระวิหาร ( ศก.7 ) ผ่านการทำไม้แล้ว กับอีกส่วนหนึ่งอยู่ในป่าโครงการไม้กระยาเลยป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่
( อบ.2 ) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเนินเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200 - 500 เมตร
มีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง อาทิเช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤาษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่
ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิวภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวลและที่สำคัญอีกจุดหนึ่งคือ เขาพระวิหาร
โบราณสถานสำคัญเก่าแก่ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2505 ซึ่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ตกเป็นสมบัติของประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยแล้วโดยเด็ดขาดก็ตาม
แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารนั้นอยู่ด้านพื้นที่ของประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องผ่านและอาศัยพื้นที่ทางขึ้นด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย
อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จัดว่าสะดวกที่สุด เพราะฉะนั้นการที่ชาวไทยหรือชนชาติต่างๆ ที่ต้องการเดินทางไปศึกษาหาความรู้และพักผ่อนหย่อนใจบนปราสาทเขาพระวิหาร
จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับประเทศไทยแต่อย่างใด ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยโดยจังหวัดศรีสะเกษ ได้ประสานงานตกลงกับจังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยเรียบร้อยแล้ว
ในเรื่องการขอใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวของสถานที่บริเวณส่วนบนปราสาทเขาพระวิหารแห่งนี้ร่วมกัน
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก
ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2541 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศไทย
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
ผามออีแดง
นับเป็นสถานที่ตรงจุดชายแดนเขตประเทศไทยติดต่อกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ใกล้ทางขึ้นสู่
ปราสาทเขาพระวิหาร ที่มีทัศนียภาพสวยงาม เป็นจุดชมวิวทิวทัศน์พื้นที่แนวชายแดนประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยและบริเวณปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างสวยงามและกว้างไกล
จุดสูงสุดของหน้าผามออีแดง สามารถส่องกล้องชมปราสาทเขาพระวิหารได้ชัดเจนมาก มองเห็นสภาพภูมิประเทศตามความเป็นจริงได้เป็นอย่างดี
ซึ่งปราสาทเขาพระวิหารเคยเป็นสมบัติของประเทศไทยมาก่อน แต่เมื่อเกิดกรณีพิพาทเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ถูกศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ตกเป็นสมบัติของประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยโดยเด็ดขาดแล้ว
เชื่อกันว่ามีการเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ( ประมาณ พ.ศ. 1581 ) มีความสวยงามควรค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน
ปัจจุบันปราสาทเขาพระวิหารเปิดบริการให้นักท่องเที่ยวทั่วไปขึ้นไปเยี่ยมชมได้ ด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
ปราสาทโดนตวล
เป็นปราสาทที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ที่มีศิลปวัฒนธรรมน่าศึกษาอยู่มาก ตั้งอยู่ตรงเขตชายแดนของประเทศไทย
อยู่ห่างจากหน้าผาเพียงเล็กน้อย ประมาณ 300 เมตร
สถูปคู่
เป็นโบราณวัตถุมีอยู่ 2 อัน ตั้งคู่อยู่บริเวณทิศตะวันตกของผามออีแดง ถ้าเดินทางจากผามออีแดงไปยังเขาพระวิหารก็จะผ่านสถูปคู่นี้
มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมและส่วนบนกลมก่อสร้างด้วยหินทรายเป็นท่อนที่ตัดและตกแต่งอีกที นับว่าแปลกจากศิลปวัฒนธรรมยุคอื่นใด
ภาพสลักนูนต่ำ
เป็นศิลปแบบโบราณมากอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งแกะสลักนูนต่ำเป็นภาพของ 3 เทพ อยู่บริเวณหน้าผาใต้มออีแดง
ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดทำทางเดินเท้าและราวจับ สำหรับเดินทางลงไปเที่ยวชมและศึกษาโบราณวัตถุบริเวณจุดนี้ไว้ด้วย
ทำนบสระตราว
สร้างด้วยท่อนหินทรายซึ่งตัดมาจากแหล่งตัดหิน มาวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบและตอนนี้ได้มีการบูรณะและทำความสะอาดบริเวณสระตราว
สามารถเก็บกักน้ำและนำมาใช้อุปโภค บริการแก่เจ้าหน้าที่และนักท่องเที่ยว ณ บริเวณผามออีแดงและปราสาทเขาพระวิหารได้อย่างเพียงพอ
แหล่งตัดหิน
เป็นบริเวณที่ทำการตัดหินเป็นท่อนสี่เหลี่ยม เข้าใจว่าคงเตรียมตัดหินเพื่อใช้ในการก่อสร้างทำนบสระตราวสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้
ซึ่งมีทั้งหินที่ตัดเป็นท่อนแล้ว และยังตัดไม่เสร็จอยู่ในลักษณะเตรียมการ อยู่ใกล้บริเวณทำนบสระตราวนั่นเอง
ถ้ำฤาษี
เป็นถ้ำแห่งหนึ่งที่อยู่บริเวณห้วยด้านทิศตะวันตกของสระตราว ใกล้เส้นทางจะเดินสู่ปราสาทเขาพระวิหาร
บริเวณภายในจุคนได้มากสำหรับพักแรมได้ เคยมีพระสงฆ์เดินทางไปปักกรดพักปฏิบัติจำพรรษาที่นั่นมาก่อน
ช่องตาเฒ่า
อยู่บริเวณชายแดนแนวเขตของไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตย เป็นพื้นที่คอดกิ่วของเทือกเขาพนมดงรัก ที่สามารถเดินไปมาหาสู่กันได้ระหว่างทั้งสองประเทศ
ช่องโพย
เป็นอีกเส้นทางหนึ่ง พื้นผิวจราจรเป็นดินลูกรังที่จัดทำไปยังแนวชายแดนไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ท้องที่อำเภอน้ำยืน
จังหวัดอุบลราชธานี ใช้เป็นเส้นทางลำเลียงกำลังสนับสนุนเพื่อความมั่นคง และบริเวณนี้ยังมีน้ำตกและทัศนียภาพที่สวยงาม เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ
น้ำตกและถ้ำขุนศรี
น้ำตกตั้งอยู่เหนือถ้ำขุนศรีขึ้นไป สูง 3 ชั้น ทางด้านทิศตะวันตกของสระตราว
ใกล้เส้นทางเดินสู่ปราสาทเขาพระวิหาร ส่วนถ้ำขุนศรีภายในถ้ำกว้างขวาง สามารถจุคนได้มาก เชื่อกันว่าเป็นที่พักของขุนศรีขณะที่มาควบคุมการตัดหินบริเวณสระตราวเพื่อไปสร้างปราสาทเขาพระวิหาร
น้ำตกห้วยตา
เป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่บริเวณเส้นทางขึ้นผามออีแดง จัดเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่มีพันธุ์ไม้ สมุนไพร และกล้วยไม้อยู่หลายชนิด
เขาสัตตะโสม
เป็นหน้าผาติดแนวชายแดนประเทศกัมพูชา สามารถมองเห็นผามออีแดง และปราสาทเขาพระวิหารได้ชัดเจน
มีทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นจุดชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า
เขื่อนห้วยขนุน
เป็นอ่างเก็บน้ำชลประทานและที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อน เที่ยวชมธรรมชาติและเข้าค่ายกางเต็นท์พักแรม
น้ำตกไทรย้อย
เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
อยู่ห่างจากเส้นทางสู่อำเภอน้ำยืน ไปประมาณ 4 กิโลเมตร
ช่องอานม้า
เป็นจุดผ่อนปรนในการค้าขาย ระหว่างแนวชายแดนไทย - กัมพูชา เพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโซง
อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
สภาพดิน ฟ้า อากาศ ในท้องที่ป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน
จังหวัดอุบลราชธานี สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน - ตุลาคม
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์
|
|
พรรณไม้ :-
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน เป็นเนินเขา
ป่าเบญจพรรณ
Dry Mixed Decidous Forest
สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ มีไม้ตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ พื้นที่บางส่วนผ่านการทำไม้มาแล้ว
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ ประดู่ ตะเคียนหิน ตะแบก เต็ง รัง พะยุง นนทรี พยอม แดง ฯลฯ
ไม้พื้นล่าง
ได้แก่ ไผ่ หวาย กล้วยไม้ดินที่มีขึ้นตามลานหินและหญ้าต่างๆ
|
|
สัตว์ป่า :-
เนื่องจากสภาพป่าของป่าเขาพระวิหารและป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ บนเทือกเขาพนมดงรักยังมีความอุดมสมบูรณ์
จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป เช่น หมูป่า กวาง เก้ง กระต่าย กระรอก ชะนี ชะมด และ นกชนิดต่างๆ
ซึ่งสัตว์ป่าเหล่านี้ควรมีการเคลื่อนย้ายถิ่น เพื่อเป็นการหลบหลีกภัยไปมาระหว่างพื้นที่ป่าทั้งสองประเทศ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลาน เช่น
ค้างคาว แมลงจำพวกผึ้ง ผีเสื้อ จักจั่น และงูต่างๆ เป็นต้น
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ตู้ ปณ. 14 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 33110
โทรศัพท์ 045-818021 (VoIP), 045-816071
หรือที่เว็บไซต์ http://www.dnp.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถยนต์
..... จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)
แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ที่จังหวัดสระบุรี ไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา เข้าทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านบุรีรัมย์ สุรินทร์ เข้าตัวเมืองศรีสะเกษ
จากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ใช้ทางหลวงหมายเลข 221 มุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร :-
|
|
|