: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ ร า ม คำ แ ห ง : : :
|
- - - - > แลกเปลี่ยนประสบการณ์ < - - - -
|
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง
มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอคีรีมาศ และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
เป็นอุทยานแห่งชาติทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วยปูชนียวัตถุอันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตลอดจนมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตกสายรุ้ง
มีเนื้อที่ประมาณ 341 ตารางกิโลเมตร หรือ 213,125 ไร่
|
ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
ประวัติความเป็นมา :-
ด้วยกรมป่าไม้ มีหนังสือที่ กส 0706/2978
ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เรื่องการเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ ให้จังหวัดทุกจังหวัดประสานงานกับป่าไม้เขตดำเนินการตรวจสอบ
พื้นที่ป่าไม้ในท้องที่แต่ละเขตว่าบริเวณใดบ้างเหมาะที่จะจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจ จังหวัดสุโขทัยได้มีหนังสือ ที่ สท 0009/1370
ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ส่งสำเนาหนังสือจังหวัดที่ได้ดำเนินการติดต่อประสานงานกับป่าไม้เขตตากมายังกรมป่าไม้ เพื่อให้พิจารณาจัดตั้งอุทยานแห่งชาติในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง
ท้องที่อำเภอคีรีมาศ อำเภอบ้านด่านลานหอย และอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
เนื่องจากป่าแห่งนี้มีทรัพยากรที่สำคัญ น้ำตก ทิวทัศน์ที่สวยงามและมีปูชนียวัตถุ อันเป็นโบราณสถานสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
จึงได้มีหนังสือ ที่ 177/2518 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ให้ นายเชาวลิต เลิศชยันตี นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล
ปรากฎว่าป่าเขาหลวงมีสภาพป่าธรรมชาติสมบูรณ์ มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร และเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงสุโขทัย
เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดังนั้นในเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 กองอุทยานแห่งชาติ จึงเริ่มดำเนินการจัดตั้งป่าเขาหลวงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า
" อุทยานแห่งชาติรามคำแหง " ซึ่งได้อัญเชิญสมญานามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงแสนยานุภาพเป็นอัจฉริยะทางด้านความคิดของกรุงสุโขทัย มาเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ เพื่อเทอดพระเกียรติแด่องค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ของไทย ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2518 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2518 เห็นชอบในหลักการให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณทีดินป่าเขาหลวง
ในท้องที่ตำบลบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านด่านลานหอย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง และตำบลบ้านป้อม ตำบลคีรีมาศ อำเภอคีรีมาศ
จังหวัดสุโขทัย ให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2523 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 97 ตอนที่ 175
ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523
เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 20 ของประเทศไทย
|
Top |
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :
|
สถานที่น่าสนใจ :-
เขาหลวง
เป็นภูเขาที่มียอดเขาสูงที่สุด อยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองสุโขทัย รูปพรรณสัณฐานคล้ายสตรีนอนสยายผมที่มีส่วนใบหน้าเคลียอยู่กับเมฆหมอกตลอดเวลา
บนยอดเขามีทิวทัศน์สวยงาม ประกอบไปด้วย ยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าธรรมชาติ จำนวน 4 ยอด ได้แก่
ยอดเขานารายณ์ ยอดเขาภูกา ยอดเขาเจดีย์ และยอดเขาแม่ย่า โดย ยอดเขาภูกา และ ยอดเขาแม่ย่า
สูงที่สุด ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 1,200 เมตร
ทุ่งหญ้าธรรมชาติ
บนยอดเขาจะมีทุ่งหญ้าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่
มีหญ้าหลายชนิดขึ้นอยู่รวมกัน บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร โดยเฉพาะบริเวณสวนขวัญไทรงาม เป็นต้นไทรขนาดใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาได้ลักษณะสวยงามเหมาะสำหรับนั่งพักผ่อน
อยู่ระหว่างทางขึ้นเขาหลวง
สมุนไพรและว่าน
ในพื้นที่อุทยานฯ มีว่านและสมุนไพรหลายร้อยชนิด เช่น โด่ไม่รู้ล้ม หอมไกดง นางคุ้ม อบเชย หนุมานประสานกาย เสน่ห์สาวหลง
หนุมานนั่งแท่น สบู่เลือด เพชรหน้าทั่ง เลือดค้างคาว ลางจืด กระวาฬ กำลังเสือโคร่ง ฯลฯ
น้ำตกสายรุ้ง
เป็นน้ำตกที่สูงชันและสวยงาม เกิดจากต้นน้ำบริเวณเขาเจดีย์มาเป็นลำธารคลองไผ่นา ไหลลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
มีโตรกผาสูงชันกว่าร้อยเมตร แต่จะมีน้ำตกเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
ภาพถ่าย :-
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันคล้ายจอมปลวกใหญ่ อยู่โดดเด่นบนภาคเหนือตอนล่างบนเทือกเขาสูงของเขานารายณ์ เขาเจดีย์
เขาแม่ย่า เขาภูกา ประกอบกันเป็นเทือกเขาหลวง มีจุดสูงสุด 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสายซึ่งไหลรวมกันลงสู่แม่น้ำยม
|
|
สภาพภูมิอากาศ :-
สภาพอากาศในฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนกันยายน และฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นสบาย
โดยเฉพาะบนยอดเขาหลวง อุณหภูมิจะหนาวเย็นในเวลากลางคืน ช่วงที่อากาศเย็นสบายที่สุดระหว่างเดือนธันวาคม - มกราคม
|
|
พรรณไม้ :-
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง อยู่ในที่ราบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง
และ ทุ่งหญ้า ซึ่งมีพืชสมุนไพรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณที่เรียกว่า
" สวนแก้วและสวนขวัญ "
พันธุ์ไม้ที่สำคัญ
ได้แก่ ตะเคียน ยมหอม สมพง เต็ง รัง พยอม ประดู่ แดง เป็นต้น
|
|
สัตว์ป่า :-
สัตว์ป่าประกอบด้วย ช้าง กวาง เก้ง หมูป่า ลิง กระรอก ชะนี และ นกชนิดต่างๆ เป็นต้น
|
|
สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
งานบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-5734, 0-2579-7223 ต่อ 724 หรือ 725
หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ตู้ ปณ. 1 อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย 64160
โทรศัพท์ 0-5561-9200
หรือที่เว็บไวต์ http://www.forest.go.th
|
|
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
- ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
- ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
- ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
- ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
- หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
|
|
การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติรามคำแหง สามารถเดินทางได้ดังนี้
ทางรถยนต์
เส้นทางที่ 1
..... จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1
ถึงจังหวัดกำแพงเพชร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าสู่อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
เลี้ยวซ้าย แยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติตรงหลักกิโลเมตรที่ 414
ไปตามทางลูกรัง 1 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
เส้นทางที่ 2
..... จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์
จากจังหวัดนครสวรรค์ใช้ทางหลวงหมายเลข 117 สู่จังหวัดพิษณุโลก จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข
12 เข้าสู่จังหวัดสุโขทัย แล้วเดินทางสู่อำเภอคีรีมาศ แยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติเช่นเดียวกัน
|
|
|
แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติรามคำแหง :-
|
|
|