: : : อุ ท ย า น ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ สุ โ ข ทั ย : : :
|
- -> ภาพจากนักเดินทางโดย กล้องดิจิตอล Cyber - shot U รุ่น DSC-U10 ของ Sony <- -
|
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ( เมืองเก่าสุโขทัย )
ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยตามทางหลวงแผ่นดินสายสุโขทัย - ตาก
ทางหลวงหมายเลข 12 ไปทางทิศตะวันตก เมื่อผ่านเข้าเมืองเก่าจะแลเห็นยอดเจดีย์แบบต่างๆ อันสง่างามและวิหารอันศักดิ์สิทธิ์
กำแพงเมืองสุโขทัย
ตั้งอยู่ตำบลเมืองเก่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพง
และพื้นดินที่ขุดขึ้นยังเป็นคูน้ำไว้ใช้สอย และเป็นกำแพงน้ำขึ้นอีก 2 ชั้น กำแพงด้านทิศเหนือจรดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร
ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร มีประตูเมืองสี่ประตู ด้านเหนือเรียกว่า "ประตูศาลหลวง"
ด้านทิศตะวันตกเรียกว่า "ประตูอ้อ" ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ประตูกำแพงหัก"
ด้านทิศใต้เรียกว่า "ประตูนะโม" ภายนอกกำแพงในรัศมี 5 กิโลเมตรมีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง
สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร และได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลก
โดยองค์การ UNESCO ในปี พ.ศ. 2537
|
ภาพโดย คุณสงกรานต์
|
ส่งภาพถ่ายให้เรา
|
|
การเข้าชมโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 - 21.00 น.
กรณีเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรนำชมเมือง
นักท่องเที่ยวที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอุทยานฯ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย 64210 โทร 055-697310
|
|
: : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ ใ น เ ข ต อุ ท ย า น ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ สุ โ ข ทั ย : :
|
ภายในกำแพง
วัดมหาธาตุ
เป็นวัดใหญ่อยู่กลางเมือง สร้างสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีเจดีย์ต่างๆ รวมถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย
มีพระเจดีย์มหาธาตุทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ ตั้งเป็นเจดีย์ประธานล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์บนฐานเดียวกัน คือปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง
4 และเจดีย์แบบศรีวิชัย ผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง
มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปที่วัดสุทัศน์
กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้านใต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มเรียกว่า "พระอัฏฐารศ"
ด้านใต้ยังพบแท่นหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย
|
|
ศาลตาผาแดง
เป็นศาสนสถานตามคติศาสนาฮินดู ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนยอดหักพังลงหมด รูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรม
ศิลาที่เป็นรูปเคารพเปรียบเทียบได้กับศิลปะในนครวัด ( ราว พ.ศ. 1650-1720 ) จัดเป็นโบราณสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
|
|
เนินปราสาทพระร่วงหรือเขตพระราชวัง
ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดมหาธาตุ เป็นซากอาคารก่อด้วยอิฐ ขุดแต่งบูรณะแล้ว มีฐานบัวโดยรอบทำด้วยปูนปั้น
สันนิษฐานว่าเนินแห่งนี้คือที่ตั้งของพระที่นั่งหรือปราสาทที่ประทับของกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงที่ครองกรุงสุโขทัยในกาลก่อน แต่องค์ปราสาทหาชิ้นดีไม่ได้
เพราะคงจะสร้างด้วยมือและไม้ เดี๋ยวนี้มีแต่ซากกระเบื้องมุงหลังคากระจัดกระจายทั่วไป ณ เนินปราสาทแห่งนี้เองที่ได้ค้นพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงฯ
และพระแท่นมนังคศิลา
|
|
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ
ขนาด 2 เท่าขององค์จริง สูง 3 เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตุถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน
พระแท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ลักษณะพระพักตร์เหมือนอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น
ถ่ายทอดความรู้สึกว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม และเฉียบขาด
ที่ด้านข้างมีภาพเผ่นจำหลักจารึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ตามที่อ้างถึงในจารึกสุโขทัย
|
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณที่ได้จากการขุดค้นพบทางโบราณคดีภายในเมืองสุโขทัย
และที่ประชาชนมอบให้ บริเวณพิพิธภัณฑ์จะแบ่งส่วนการแสดงโบราณวัตถุไว้เป็น 3 ส่วนคือ
1. อาคารลายสือไทย 700 ปี
เป็นอาคารที่ตั้งอยู่ด้านหน้าทางเข้าอาคารใหญ่ เป็นที่จัดแสดงศิลปะวัตถุสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูป
เครื่องใช้ถ้วยชามสังคโลก ศิลาจารึก ฯลฯ
2. อาคารพิพิธภัณฑ์
แบ่งออกเป็น 2 ชั้น แสดงศิลปะวัตถุในยุคสมัยต่างๆ อาทิ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ โอ่ง สังคโลก เครื่องศาสตราวุธ
เครื่องถ้วยชามสังคโลก เงินตรา ท่อน้ำระบบชลประทานสุโขทัย ฯลฯ
3. พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
จะอยู่ด้านนอกโดยรอบอาคารใหญ่ เป็นที่ตั้งแสดงศิลปะวัตถุโบราณต่างๆ อาทิ เช่น พระพุทธรูปศิลา แผ่นจำหลัก
รูปทรงอาคารไทยแบบต่างๆ เตาทุเรียงจำรอง เสมาธรรมจักรศิลา เป็นต้น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
เปิดให้ชมได้ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น.
ค่าธรรมเนียมเข้าชมคนละ 30 บาท
|
|
แหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสุโขทัย ( เตาทุเรียง )
อยู่ใกล้วัดพระพายหลวง บริเวณแนวคูเมืองเก่าที่เรียกว่า "แม่โจน"
เป็นเตาเผาถ้วยชามสมัยสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ค้นพบเตาโดยรอบ 49 เตา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณคันคูแม่น้ำโจน
ด้านทิศเหนือ 37 เตา ด้านทิศใต้กำแพงเมือง 9 เตา และด้านทิศตะวันออก 3 เตา เตาเผาเครื่องสังคโลกมีลักษณะคล้ายประทุนเกวียน
ขนาดกว้าง 1.50-2.00 เมตร ยาว 4.5 เมตร เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชามมีขนาดใหญ่
น้ำยาเคลือบขุ่นสีเทาแกมเหลืองมีลายเขียนสีดำส่วนใหญ่ ทำเป็นรูปดอกไม้ ปลา และจักร
|
|
วัดศรีชุม
ตั้งอยู่ห่างจากวัดพระพายหลวงไปทางทิศตะวันตก 800 เมตร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระอัจนะ
ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย และลักษณะของวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระอัจนะนั้น สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป
แต่หลังคาพังทลายลงหมดแล้ว เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้านก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ผนังทางด้านใต้มีช่องให้คนเข้าไปภายใน
และเดินขึ้นไปตามบันไดแคบๆ ถึงผนังด้านข้างขององค์อัจนะ สามารถขึ้นไปถึงผนังด้านบนได้ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่
แต่เลอะเลือนเกือบหมด ภาพเขียนนี้มีอายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้ บนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่เกาะสลักลวดลายต่างๆ ไว้
มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ เมื่อเดินตามช่องทางบันไดขึ้นไปโผล่บนหลังคาวิหารมองเห็นทิวทัศน์อันงดงามของเมืองเก่าสุโขทัยได้โดยรอบ
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
|
นอกกำแพงเมืองด้านตะวันตก
วัดสะพานหิน
โบราณสถานด้านตะวันตกของกำแพงที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ สูงประมาณ 200 เมตร
มีทางเดินปูด้วยหินชนวนแผ่นบางๆ จนถึงบริเวณลานวัด มีวิหารก่อด้วยอิฐมีเสาก่อด้วยศิลาแลง 4 แถว 5 ห้อง ภายในที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัยสูง
12.50 เมตร เรียก "พระอัฏฐารศ"
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
|
นอกกำแพงเมืองด้านใต้
วัดเชตุพน
ศิลปกรรมที่น่าสนใจคือมณฑปสร้างด้วยหินชนวนประดิษฐานพระพุทธรูปสี่อิริยาบถคือ พระพุทธรูปแบบนั่ง
ยืน เดิน นอน ภายในมณฑปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีการใช้วัสดุด้วยอิฐ หินชนวน ศิลาแลง ในการก่อสร้างที่ประสานกันอย่างกลมกลืน
ได้มีการพบศิลาจารึกหลักที่ 58 จารึกในปี พ.ศ. 2057 กล่าวว่า เจ้าธรรมรังสีสร้างพระพุทธรูปในวัดนี้
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
|
นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก
วัดตระพังทองหลาง
ศิลปกรรมที่สำคัญคือ มณฑปรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น
ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนา โปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราชและตอนเสด็จโปรดนางพิมพา
นับเป็นศิลปกรรมชั้นเอกของสุโขทัย บริเวณพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 70 ตารางกิโลเมตร
และมีโบราณสถานที่น่าชมอีกมากมาย กรณีนักท่องเที่ยวมีเวลา มีโบราณสถานที่ควรชม ได้แก่
ทิศตะวันออก : วัดเจดีย์สูง, วัดเกาะไม้แดง, วัดหอมพยอม
ทิศตะวันตก : วัดพระบาทน้อย, วัดเจดีย์งาม, วัดมังกร, วัดอรัญญิก, วัดช้างรอบ
ทิศใต้ : วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม, วัดต้น, วัดอโศการาม
|
|
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
|
|
สถานที่พักแรม :-
โรงแรม ไพลิน สุโขทัย ( Pailyn Sukhothai Hotel )
English
|
Thai
โรงแรม อนันดา มิวเซี่ยม แกลเลอรี่ ( Ananda Museum Gallery Hotel )
English|Thai
ธาราบุรี รีสอร์ท ( Tharaburi Resort )
English
|
Thai
โลตัสวิลเลจ ( Lotus Village )
ที่พักอื่น ๆ ในจังหวัดสุโขทัย คลิกที่นี่เลยจ้า..
|
สนใจนำที่พักมาลงตรงนี้ติดต่อ 08-1629-3354 โจ
|
|
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย 64210
โทรศัพท์ 055-697310
|
|
การเดินทาง :-
จากกรุงเทพฯ - อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย.. ระยะทาง 439 กิโลเมตร
ทางรถยนต์ :-
จากตัวเมืองสุโขทัย ใช้ทางหลวงหมายเลข 12 มุ่งหน้าสู่จังหวัดตาก ประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
|
|
|