กลับหน้าแรกหามานานท่องเที่ยวทั่วไทย
อุบลราชธานี เมืองแห่งดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน
ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์
   อุ บ ล ร า ช ธ า นี
   เ ท ศ ก า ล / ป ร ะ เ พ ณี
   โ ร ง แ ร ม แ ล ะ ที่ พั ก
   ร้ า น อ า ห า ร
   ร้ า น ค้ า
   บ ริ ษั ท ทั ว ร์ / ร ถ เ ช่ า
   ส มุ ด เ ยี่ ย ม ช ม
   ส ม า ชิ ก ท่ อ ง เ ที่ ย ว
   ภ า พ ถ่ า ย
   ก า ร เ ดิ น ท า ง
   แ ผ น ที่


   แ จ้ ง แ ก้ ไ ข ข้ อ มู ล
 
แลกลิงค์กับหามานานดอทคอม
แ ล ก ลิ ง ค์ กั บ เ ร า
: : : อุ ท ย า น แ ห่ ง ช า ติ แ ก่ ง ต ะ น ะ : : :
- - - - > แลกเปลี่ยนประสบการณ์ < - - - -

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสูง เป็นเขาเตี้ยๆ มี แม่น้ำมูล และ แม่น้ำโขง ไหลผ่านตามแนวเขตทางด้านทิศเหนือไปออกประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว บริเวณแก่งตะนะจะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก อีกทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำหลายแห่ง จึงทำให้มีปลาอาศัยอยู่ชุกชุม ตรงกลางมีโขดหินขนาดใหญ่เป็นเกาะกลาง มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร หรือ 50,000 ไร่

ตรงนี้รอรูปจากคุณไงครับ
ส่งภาพถ่ายให้เรา
 
ฤดูกาลท่องเที่ยว
... ตลอดทั้งปี ...
... ฤดูฝนและฤดูหนาว เที่ยวชมแม่น้ำมูล แม่น้ำโขงและน้ำตกต่างๆ
... ปลายฤดูหนาวและฤดูร้อน นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมแก่งต่างๆ
 

ประวัติความเป็นมา :-
ด้วยกรมป่าไม้ มีหนังสือที่ กส 0706/2967 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เรื่องการเลือกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ ให้ป่าไม้เขตทุกเขตดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ ในท้องที่แต่ละเขตว่า มีบริเวณใดบ้างเหมาะสมที่จะจัดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรืออุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจของจังหวัดอุบลราชธานี ได้มีหนังสือที่ อบ 09/24531 ลงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ถึงป่าไม้เขตอุบลราชธานี เห็นว่าป่าดงดิบหินกอง ท้องที่ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม มีสภาพพื้นที่เหมาะสมเพื่อจัดเป็นอุทยานแห่งชาติ สำนักงานป่าไม้เขตอุบลราชธานี จึงมีหนังสือที่ กส 0809(อบ)/1799 ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2518 รายงานให้ กรมป่าไม้ ดำเนินการสำรวจ พบว่า ป่าดงหินกอง มีสภาพป่าสมบูรณ์ และมีธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง แต่เป็นป่าโครงการเพื่อการใช้สอยเอนกประสงค์ของราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี และป่าไม้เขตอุบลราชธานี จึงเห็นควรกำหนดพื้นที่ป่าดงหินกองเฉพาะบางส่วนบริเวณรอบๆ แก่งตะนะ และน้ำตกตาดโตน เนื้อที่ประมาณ 12 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นวนอุทยาน ซึ่งกรมป่าไม้ได้มีคำสั่งที่ 710/2521 ลงวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2521 ให้นายนพพร แสงสีดา นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปสำรวจเบื้องต้นพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จากรายงานการสำรวจตามหนังสือสำนักงานป่าไม้เขตอุบลราชธานี ที่ กส 0809/(อบ.)/2730 ลงวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ป่าดิงหินกองเป็นป่าต้นน้ำของ แม่น้ำมูล มีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ แต่ในชั้นต้น กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 2428/2522 ลงวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ให้นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการจัดตั้งเป็น " วนอุทยานป่าดงหินกอง "

ต่อมา วนอุทยานดงหินกอง ได้มีหนังสือที่ กส 0708(ดก)/11 ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2523 ว่าได้ทำการสำรวจพื้นที่ป่าดงหินกองโดยรอบ พบว่ามีสภาพป่าสมบูรณ์ดีมาก มีธรรมชาติและทิวทัศน์สวยงาม สัตว์ป่าชุกชุม เหมาะที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับป่าโครงการเพื่อการใช้สอยแบบเอนกประสงค์ ป่าดงหินกองถูกประกาศให้เป็นป่าปิด ห้ามการทำไม้ทุกชนิด ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2522 กรมป่าไม้จึงเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติการประชุมครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2523 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดงหินกอง ในท้องที่ตำบลโขงเจียมและตำบลเขื่อนแก่ง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 908 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 โดยใช้ชื่อว่า " อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ " ซึ่งเป็นชื่อตามธรรมชาติของลักษณะภูมิประเทศซึ่งเป็นจุดเด่นใหญ่ที่ประชาชนทั่วไปรู้จักกันดี เป็น อุทยานแห่งชาติลำดับที่ 31 ของประเทศไทย

คำว่า " ตะนะ " จากการเล่าขานตามความเชื่อของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป เดิมมาจากคำว่า " มรณะ " เนื่องจากบริเวณแก่งตะนะนี้มีกระแสน้ำไหลที่เชี่ยวกราก และมีโขดหินใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำหรือออกจับปลา มักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกแก่งนี้ว่า " แก่งมรณะ " ตามแรงบันดาลจากสภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านแก่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า " แก่งตะนะ "

 
Top
: : : ส ถ า น ที่ น่ า ส น ใ จ : : :

สถานที่น่าสนใจ :-

แก่งคันเหว่ ประกอบด้วยแนวหินยาวประมาณ 1 กิโลเมตร กว้างราว 300 เมตร และยังมีหาดทรายตามแก่งหิน ประกอบด้วยโขดหินใหญ่น้อยเกลี้ยงเกลา มีหลุมยุบและรอยแหว่งเว้า ปรากฎอยู่ทั่วไป ใน เดือนธันวาคม ลำน้ำมูล จะเอ่อไหลตามแก่งหินอย่างเชี่ยวกราก ทำให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงาม

ดอนตะนะ เป็นดอนดินที่เกิดขึ้นขวางลำน้ำมูล และแบ่งแม่น้ำมูลออกเป็น 2 สาย มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร ทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไป สภาพเป็นป่าดิบแล้ง มีไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่นและมีป่าสักตามธรรมชาติ

แก่งตะนะ ลำน้ำมูล เมื่อไหลอ้อมดอนตะนะทั้งสองด้านแล้ว จะไหลลงมาทางแก่งตะนะ กลางแก่งตะนะมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูล จากทั้งสองที่เชี่ยวกรากจะกัดเซาะลงในแนว โขดหินสูงราว 1 เมตร บ้างก็ไหลซอกซอนไปตามร่องหินและลานหินริมฝั่งมูล ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะ จะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำ ในการเดินเรือบริเวณแก่งตะนะ จะมีสายน้ำที่เชี่ยวและลึก ทั้งยังมีถ้ำใต้น้ำอีกหลายแห่ง จึงทำให้ปลาบริเวณแก่งตะนะชุกชุม

น้ำตกตาดโตน เป็นน้ำตกที่ตกจากชั้นหิน ที่มีแนวโค้งคล้ายจอภาพยนตร์ อยู่บริเวณห้วยตาดโตน

น้ำตกและบึงห้วยหมาก อยู่บริเวณเหนือบ้านห้วยหมาก เป็นบึงใหญ่ มีน้ำนิ่ง และไหลตกเป็นทางยาวลงมาบนชั้นหินที่ซ้อนเหลื่อมล้ำเป็นแนวทอดต่ำลงมา

น้ำตกห้วยกว้าง อยู่ใกล้เขตสุขาภิบาลอำเภอโขงเจียม มีน้ำตกลงไปตามซอกหิน เป็นชั้นลดหลั่นลงมา
 
 
เพิ่มเติมข้อมูลให้เรา
 

ภาพถ่าย :-
  • รอภาพถ่ายจากคุณไงครับ
ส่งภาพถ่ายให้เรา
 

สภาพภูมิประเทศ :-
สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ เป็นเขาเตี้ยๆ มี แม่น้ำมูล และ แม่น้ำโขง ไหลผ่าน ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นหินทรายและพื้นที่ศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินบรมือ และดินตะกอน
 

สภาพภูมิอากาศ :-
ลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตลมมรสุม แต่เนื่องจากอยู่ใกล้แม่น้ำสำคัญสายใหญ่ 2 สาย คือ แม่น้ำมูล และ แม่น้ำโขง อากาศจึงแตกต่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วไป คือ

ฤดูร้อน อากาศจะไม่ร้อนจนเกินไป อยู่ในราว 25 - 29 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน ฝนตกค่อนข้างชุก
ฤดูหนาว ไม่หนาวจัด
 

พรรณไม้ :-
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าแพะและป่าแดง มีไม้เต็ง รัง เหียงพลวง ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะแคระแกรน นอกจากนี้ยังพบป่าดิบแล้งบ้างตามบริเวณลำห้วยใหญ่ๆ และบนดอนตะนะ

พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ ไม้ประดู่ แดง หว้า สัก ยาง นอกนั้นมีทุ่งหญ้าอยู่บ้างเป็นหย่อมๆ
ไม้พื้นล่าง มีพวกไม้ไผ่ และไม้เถาอื่นๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป
 

สัตว์ป่า :-
ที่พบเห็นประกอบไปด้วย หมูป่า เก้ง อีเห็น ชะมด ลิง ชะนี นกชนิดต่างๆ และปลาชนิดต่างๆ
 

สถานที่พักแรม :-
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีบ้านพักบริการนักท่องเที่ยว และได้จัดสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ดังนี้
 
* ชื่อบ้านพัก ห้องพัก/ห้องน้ำ จำนวนคน บาท/คืน/หลัง สิ่งอำนวยความสะดวก
1 บ้านริมแก่ง 1 2/2 9 1,300 มีเครื่องนอน, โต๊ะ
พัดลม, เก้าอี้
2 บ้านริมแก่ง 2 2/2 10 1,500 มีเครื่องนอน, โต๊ะ
พัดลม, เก้าอี้
3 บ้านริมแก่ง 3 2/2 10 1,500 มีเครื่องนอน, พัดลม
4 บ้านริมแก่ง 4 2/2 6 900 มีเครื่องนอน, พัดลม

หมายเหตุ :-
หากปรากฏว่ามีผู้เข้าพักแรมเกินจำนวนที่กำหนด ต้องจ่ายค่าตอบแทนที่พักสำหรับจำนวนที่เกินอีก ในอัตราคนละ 100 บาท/คน/คืน โดยไม่มีเครื่องนอนหรือของใช้อื่นๆ เพิ่มอีก
 

@ ประเภทกิจกรรม จำนวนคน บาท หมายเหตุ
1 ห้องประชุม 100 200/ชั่วโมง มีเครื่องโสตอุปกรณ์ครบ, เก้าอี้,
ชุดรับแขก, พัดลม

 
 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :-
งานบ้านพัก ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2579-5734, 0-2579-7223 ต่อ 724 หรือ 725

หรือติดต่อที่อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตู้ ปณ. 6045 อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 64220
โทรศัพท์ 0-4524-3120


หรือที่เว็บไวต์ http://www.forest.go.th
 

ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานฯ :-
  1. ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
  2. ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
  3. ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
  4. ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้เรียบร้อย
  5. หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
 

การเดินทาง :-
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ สามารถเดินทางได้ดังนี้

ทางรถยนต์
..... อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 90 กิโลเมตร และสามารถเดินทางมาได้ 2 เส้นทาง คือ

..... แก่งตะนะฝั่งขวา ไปทางอำเภอวารินชำราบ ทางหลวงหมายเลข 217 ผ่านอำเภอวารินชำราบ ถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2172 ไปสู่ช่องเม็ก ถึงหลักกิโลเมตรที่ 73 บ้านคำเขื่อนแก้ว เลี้ยวซ้าย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2396 สุดทางจะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ หรือแก่งตะนะฝั่งขวา ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร

..... แก่งตะนะฝั่งซ้าย เส้นทางเดียวกับเส้นทางแรก เมื่อถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร เลี้ยวซ้าย ข้ามสะพานพิบูลมังสาหาร 200 ปี ไปตามเส้นทางโขงเจียม ก่อนถึงอำเภอโขงเจียม 4 กิโลเมตร จะมีทางแยก เลี้ยวขวา เข้าไปยังแก่งตะนะฝั่งซ้ายได้ ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร
 
 

แผนที่ที่ตั้งอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ :-

 

: : : ส ถ า น ที่ ท่ อ ง เ ที่ ย ว น่ า ส น ใ จ : : :

 
แนะนำที่เที่ยวให้เรา
ข่าวประชาสัมพันธ์ : : : ข่ า ว ป ร ะ ช า สั ม พั น ธ์ : : :
มีข่าวอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้บอกเราได้เลย เราจะนำมาลงให้นะครับ ขอบคุณที่ส่งข่าว
ฝากข่าว
โฆษณา : : : โ ฆ ษ ณ า สิ น ค้ า แ ล ะ บ ริ ก า ร : : :
โฆษณาตรงนี้จะปรากฎทั้ง 76 จังหวัดภายในเว็บแห่งนี้
ติดต่อโฆษณาคลิกที่นี่
: : : อ ะ ไ ร ดี ๆ จ า ก บ อ ร์ ด ท่ อ ง เ ที่ ย ว : : :
เก็บอะไรดีๆ ในจังหวัดนี้จากบอร์ดหามานท่องเที่ยวมาฝากครับ...
ตั้งกระทู้ใหม่
 

- : - - - - - - - - :- - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - : - - - - - - - - :- - - - - - - - : - - - - - - - : -
ค้นหาคำว่า :
เพิ่มเว็บไซต์เข้าระบบค้นหา
 
-:-เลือกจังหวัดที่ต้องการ-:-

 บอร์ดหามานานท่องเที่ยว

ส่งและดูภาพทั่วไทย
ส่ง + ดูภาพทั่วไทย

ส่งการ์ดท่องเที่ยว
ส่งการ์ดท่องเที่ยว

ปฏิทินท่องเที่ยว
ปฏิทินท่องเที่ยว

อ่านและฝากข่าวท่องเที่ยว
อ่านและฝากข่าวท่องเที่ยว

เล่าเรื่องเที่ยว
เล่าเรื่องเที่ยว

- - - - - - - - - - - - - - - -

ลงโฆษณาคลิกที่นี่
 

 
Copyright © 2002 All right reserved. webmaster@hamanan.com ไปหน้าแรกหามานานดอทคอม